ประวัติศาสตร์เมียนมา

เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต

ประเทศพม่า หรือ Myanmar  มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ Republic of the Union of Myanmar เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาบสมุทรอินโดจีนซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุด มีพรแดนติดต่อสองประเทศที่เป็นแหล่ง อารยะธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลก ได้แก่ จีน และ อินเดีย เมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ

ประวัติศาสตร์ของพม่านั้นมีความยาวนานและซับซ้อน มีประชาชนหลายเผาพันธุ์เคยอาศัยอยู่ใน ดินแดนแห่งนี้เผาพันธุ์เก่าแก่ที่สุดที่ปรากฏได้แก่มอญ ต่อมาราวพุทธศตวรรษที่13 ชาวพม่าได้อพยพลงมาจากบริเวณพรมแดนระหว่างจีนและทิเบตเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีและได้กลายเป็นชนเผาส่วนใหญ่ที่ปกครองประเทศในเวลาต่อมา ความซับซ้อนของประวัติศาสตร์พม่ามิได้เกิดขึ้นจากกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในดินแดนพม่าเท่านั้น แต่เกิดจากความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ได้แก่ จีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว และไทย

มอญ

เป็นมนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าเมื่อราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่ สามารถสร้างอารยะธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็ คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ใน ดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิอันเป็นอาณาจักรแห่ง แรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนา พุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2ซึ่งเชื่อวามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของ พระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทาลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาว มอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดียเข้ากับวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจน กลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพล ในดินแดนตอนใต้ของเมียนมา

พยู

ชาวปยู หรือ พยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้ สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่น พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) อาณาจักรศรีเกษตร (Sri Kasetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo)และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดน เมียนมาเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผาที่รักสงบ ไม่ปรากฏวามีสงครามเกิดขึ้น ระหว่างชนเผ่าพยูหากมีข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่ เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทาความผิดอัน ร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท  เด็กๆ ได้รับการศึกษาที่วัด ตั้งแต่อายุ7 ขวบจนถึง20 ปี

นครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็ก  ซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุด ได้แก่ ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเมียนมา ไม่ปรากฏหลักฐานว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารวามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นใน ปี พุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความ ชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวง ใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดวาเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยีอย่างไรก็ตาม เมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธ ศตวรรษที่15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีกเลย

เขตแดนในประเทศพม่า

ชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดน ประเทศพม่าทีละน้อย กระทังปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง “พุกาม” (Pagan) โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไป ของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทังในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลาย  เป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่ม มากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา(พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสินธู (พ.ศ. 1655-1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธ

ศตวรรษที่17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดย อาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมร และ พุกาม

เมื่ออำนาจของอาณาจักรพุกามเสื่อมลงทีละเล็ก ทีละน้อย ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้า ครอบงาโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทาง ตอนเหนือพระเจ้านรสีหบดี(ครองราชย์ พ.ศ.1779–1830) ได้ทรงนาทัพสู่ยูนนานเพื่อยับยั้งการขยาย อำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาสองกยัน (Ngasaunggyan) ในปี พุทธศักราช1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่าระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปี พุทธศักราช1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทาให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832

อังวะและหงสาวดี

หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกนอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาเมืองอังวะขึ้น ในปี พุทธศักราช1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วย อาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรูเมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปี พุทธศักราช2070

สาหรับดินแดนทางใต้ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้ง คือ หงสาวดี โดย กษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ.1970–2035 ) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของ พุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา

อาณาจักรตองอู

หลังจากถูกรุกรานจะไทยใหญ่ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่โดยมี ศูนย์กลางที่เมืองตองอู ในปี พุทธศักราช2074ภายใต้การนำของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้  (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกนได้อีกครัั้ง

ในช่วงระยะเวลานี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่ม มีอิทธิพลในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรปพม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้าย เมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดีเหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย)ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103)  อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทาให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้ง มณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน

เมื่อต้องเผชิญกบการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกบการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจาเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะพระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกนอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าทาลุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่าแต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไปจนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุดหงสาวดีที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศส ซึ่งตั้งมันอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อยๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปี พุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ

ราชวงอลองพญา

ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลา อันรวดเร็ว พระเจ้าอลองพญา ซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามา ครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้ง ในปี พ.ศ.2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้ เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.2303 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี(Tenasserim) พระองค์ได้ ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์ทรงสวรรคตระหว่างการสู้รบ พระเจ้าเซงพะยูเชง (Hsinbyushin, ครอง ราชย์ พ.ศ.2306 – 2319) พระราชโอรส ได้โปรดให้ส่งทัพเข้า รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 ซึ่งประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้แม้ว่าจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ต้องยุติลง ในรัชสมัยของ พระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ.2324 –2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระ เจ้าอลองพญา  ในขณะนั้นพม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และ ตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ.2327  และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยูในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์(Bagyidaw, ครองราชย์ พ.ศ.2362–2380) ขุนนางชื่อ มหาพันธุละ Maha( Bandula) นำทัพเข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรง กับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น

สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า

สืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่ 1 นี้ (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กองทัพอังกฤษทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะไข่ และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ นับเป็นการสร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก  กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทาการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่าย อังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดย ชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้า ไว้กับตน  โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min, ครองราชย์ พ.ศ.2396–2421) จาก พระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ.2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนีพระเจ้ามินดง พยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยาก ต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจาก อังกฤษได้ รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ(Thibow, ครองราชย์ พ.ศ.2421–2428) ซึ่ งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้จึงทาให้เกิดความวุ่นวายไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากบอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกบอังกฤษเป็นครัั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทาให้ อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้

การเมืองยุคสงครามโลกครั้งที่ 2

พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429  และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยได้ติดต่อกบพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มีนายอองซาน นักชาตินิยมและเป็นผู้นาของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยยางกุ้งเป็น หัวหน้า พวกตะขิ่นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึด ครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่น ประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์  (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อ ต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้ สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากบอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามี อิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักร ภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจาพม่าช่วยให้คาปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนับสนุนพรรคการเมืองอื่นขึ้น แข่งอำนาจกบพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมันคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจา กับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธีจึงทำให้เกิดความขัดแย้งกบฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่เดินออกจาก ที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ่นหรือ อูนุได้ขึ้นเป็นนายก รัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อ วันที่17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์


  • บทบาท ความสัมพันธ์ ไทยกับนาโต้ nato.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความสัมพันธ์ไทย-นาโต้ นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ณ ขณะนั้น) ได้มีการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แล...

  • องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ nato shining consult.png
    NATO คือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือย่อมาจากNorth Atlantic Treaty Organisation เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ เกิดขึ้นในช่วง...

  • soft power shining consult jiratha aganidat อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Soft Power มีที่มาจากนายโจเซฟ เอส (Joseph S. Nye) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ของวิทยาลัยการปกครองเคเนดี้ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ให้นิยามว่า อำนาจ หม...

  • บทความอาเซียน asean.png
    Cambodia : กัมพูชา Indonesia : อินโดนีเซีย Laos : สปป.ลาว Malaysia : มาเลเซีย Myanmar : เมียนมา หรือ พม่า Negara Brunei Darussalam: เนอการาบรูไน ดารุซซาลาม Philippines : ฟิลิปปินส์...

  • asean ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน ของกลุ่มประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บูรไนดารุสซาลา...

  • thailand biennale chiangrai 2023 Jiratha Aganidat shining consult.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศไทยเราได้ก่อตั้งมูลนิธิบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ (บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ : Bangkok Art Biennale)นับเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน ที่มีความสามารถ...

  • ไปเที่ยวก่อนไปลงทุน asean วัฒนธรรมอาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศที่นิ่ง ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวไปในทางบวกสักเท่าไร ทำให้หลายคนมองถึงการค้ากับคนนอกประเทศม...

  • study business culter asean วัฒนธรรมอาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมอาเซียน ทำให้มีหลายคนอยากศึกษาวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ ติดต่อได้คล่อง ไปเที่ยวได้สนุก ปรับตัวเข้ากับผู้คนประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่พอได้ล...

  • คำนำหน้าชื่อประเทศ อาเซียน asia asean อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เคยถามหลายคนว่า ประเทศไทย ชื่อจริง ๆ ตามหลักการปกครอง ชื่ออะไร ก็มีหลายคนมองหน้าว่าเป็นการถามกวน ๆ หรือไม่ แต่ก็ตั้งใจถามจริงทุกครั้ง คำตอบที่ได้...

  • เตรียมตัวก่อนไปดูงานต่างประเทศ study tour project อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต มักมีคนกล่าวกันว่า การไปดูงานในต่างประเทศนั้น ก็แค่พากันไปเที่ยว หากเป็นภาครัฐ ก็อาจถูกมองว่า ผู้ที่เดินทางมักมีความต้องประสงค์ที่จะเพิ่มเติมความรู้คว...

  • กำเนิดอาเซียน association of south east asian nations อาจารย์จิรฐา shining consult .jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต AECเป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations :ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุ...

  • asean charter กฎบัตรอาเซียน  อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กฎบัตรอาเซียนเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญ ของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอ...

  • myanmar เมียนมา พม่า อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ก่อนที่มาเป็นชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ เมียนมา เดิมคือชื่อ พม่า หรือ Burma มีการเปลี่ยนชื่อประเทศในครั้งนี้ รัฐบาลเมียนมา ต้อง...

  • myanmar-เมียนมา-ประเทศพม่า-คนพม่า-shiningconsult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ภายหลังการประชุมรัฐสภาเมียนมาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 เมียนมาได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปัจจุบันมีรูปแบบการ...

  • laos ประเทศลาว อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว พื้นที่: 236,800 ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) และ 2 เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวี...

  • vietnam เวียดนาม อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต พื้นที่ : พื้นที่ประมาณ327,500ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้1,650กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกา...

  • Kingdom of Cambodia ราชอาณาจักรกัมพูชา อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia) พื้นที่ :181,035 ตร.กม. (พื้นดิน 176,525 ตร.กม. พื้นน้ำ 4,520 ตร.กม.) อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดประเทศไทย (เขต จ.อุบลร...

  • cambodia สายน้ำ กัมพูชา โตนเลสาป อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เทศกาลน้ำ ประเพณีสำคัญของชาวกัมพูชา “เมืองแห่งสายน้ำ” ในอาเซียน กัมพูชาถือว่ามีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่า”โตนเลสาบ” อยู่กลางประเทศ หล่อหลอมเล...

  • cambodia phnom penh น่ารู้ ประเทศกัมพูชา อาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. Royal Palace (พระราชวัง) 2. Cambodia National Museum (พิพิธภัณฑ์) 3. Tuol Sleng Genocide Museum (ตวล สเลง-ย้อนรอยคุกที่ไม่มีประตูออก) 4. Choeung Ek...

  • cambodia ประเทศกัมพูชา อาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult copy.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. มีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP อย่างสม่ำเสมอ เฉลี่ย 7.0% 2. อัตราการขยายตัวของชนชั้นกลาง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเที่ยบกับใน CLMV 3. ขนาดประเทศเล็...

  • Special-Economic-Zones.jpg
    เรียบเรียงข้อมูลโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะซึ่งได้รับมอบอำนาจการ บริหารบางประการเพื่อให้สามารถปกครองและ จัดการพื้นที่นั้นๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สัง...

  • Republic of Armenia church of amberd อาร์เมเนีย อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Celebrating the 28thAnniversary of Independence of Republic of Armenia ฉลองครบรอบ 28 ปี วันชาติของสาธารณรัฐอาร์เมเนีย (22 กันยายน 2562) 22 กันยาย...

  • aec blue print 2025 asean economic community blueprint 2025 shining consult อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต.png
    เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต โครงสร้างหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2025 ตามที่ระบุใน ASEAN Economic Community Blueprint 2025 นั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะประกอบไปด้วย 5 อ...