รายละเอียดของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต

ก่อนที่มาเป็นชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ เมียนมา เดิมคือชื่อ พม่า หรือ Burma มีการเปลี่ยนชื่อประเทศในครั้งนี้ รัฐบาลเมียนมา ต้องการให้มีความหมายถึงชื่อของประเทศซึ่งรวมชน กลุ่มชาติพันธุ์ทุกเชื้อชาติ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะชนชาติ“เมียนมา”แต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นชื่อประเทศที่เปลี่ยนใหม่นี้จึงแสดงให้เห็นถึงนโยบายสมานฉันท์และต้องการสร้างเอกภาพให้เกิดขึ้นภายในประเทศ

ภูมิศาสตร์

ภูมิประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ตั้งอยู่ที่ละติจูดที่ 28 องศา 30 ลิปดา ถึง10 องศา 20 ลิปดาเหนือ ภูมิประเทศ ตั้งอยู่ตามแนวอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันทาให้มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 2,000 ไมล์ และมีหาดที่สวยงาม เก่าแก่บริสุทธิ์อยู่หลายแห่ง  มีอาณาเขตติดต่อได้ดังนี้

ภาคเหนือ          ติดกับอินเดีย บังคลาเทศ และจีน (ทิเบต) มีเทือกเขาปัตไก (Pat Gai) เป็นพรมแดน

ภาคใต้             ติดกับไทย โดยมีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับเมียนมา

ภาคกลาง          เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี

ภาคตะวันตก     เทือกเขาอระกันโยมา (Arakanypma) กั้นเป็นแนวยาวระหว่างชายฝั่งทะเลด้าน อ่าวเบงกอลในเขตรัฐยะไข่

ภาคตะวันออก    ติดกับประเทศลาว

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ     เป็นที่ราบสูงชัน

ภูเขาในเขตเมียนมาอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้มียอดเขาสูงอยู่มากมาย และมีหลายยอดที่สูงเกินกว่า 10,000 ฟุต ตามแนวชายแดนหิมาลัยทางเหนือของพม่าที่ติดกับทิเบตเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเอเชีย ทางตะวันออกเฉียงใต้“ฮากากาโบราซี” 19,314 ฟุต ต่ำลงมาจากแนวเขาเหล่านี้เป็นที่ราบกว้างใหญ่ ภายในประเทศพม่า รวมทั้งเขตแห้งแล้งกินอาณาเขตกว้างตอนกลางของพม่า และยังมีที่ราบลุ่มบริเวณ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิระวดีที่อุดมสมบูรณ์ทอดยาวลงไปทางตอนใต้เป็นนาข้าวกว้างใหญ่

ลักษณะภูมิอากาศ

  • มรสุมเมืองร้อน
  • ด้านหน้าภูเขาอาระกนโยมักฝนตกชุกมาก
  • ภาคกลางตอนบนแห้งแล้งมาก เพราะมีภูเขากั้นกำบังลม
  • ภาคกลางตอนล่าง เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้าขนาดใหญ่ปลูกข้าวเจ้า ปอ
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศค่อนข้างเย็น และค่อนข้างแห้งแล้ง

เวลา (Time Zone)  : เวลาในเมียนมาจะช้ากว่าเวลาประเทศไทย ประมาณ 30 นาที

วันหยุดนักขัตฤกษ์ ชั่วโมงทำงาน

เวลาทำการของรัฐบาล                 วันจันทร์ถึงวันศุกร์           9.30-16.30 น.

เวลาทำการของเอกชน                 วันจันทร์ถึงวันศุกร์           8.00-17.00 น.

เวลาทำการของธนาคาร               วันจันทร์ถึงวันศุกร์           10.00-15.00 น.

ภัตตาคาร                                      ส่วนใหญ่จะปิดเวลา 21.00 น.

ประชากร

จำนวนประชากรประมาณ 50.51 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 61 คน/ตารางกิโลเมตร เมียนมามี ประชากรหลายเชื้อชาติ มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรียง 3.5% คะฉิ่น  3% ไทย 3% ชิน 1%

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทย มาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหาร สำหรับศิลปะของพม่านั้น ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดี และพุทธศาสนานิกายเถรวาท ตั้งแต่โบราณ  ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยีส่วน การแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ภาษา

มีการใช้ภาษาพม่า ซึ่งนับเป็นภาษาราชการ และยังมีภาษาท้องถิ่นตามความนิยมของรัฐต่าง ๆ อีกจำนวน 18 ภาษา ในการติดต่อสื่อสารในงานมักใช้ภาษาพม่าเป็นหลัก จะมีกลุ่มคนบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษ ไทย จีน และอื่นๆ ได้

ศาสนา

พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจาชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์2% ศาสนาอิสลาม4% ศาสนาฮินดู1.7%

การคมนาคมขนส่ง

การขนส่งทางบก ได้แก่ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน

เส้นทางถนน รถไฟ ในเมียนมาส่วนใหญ่เป็นเส้นทางบนภูเขา และเลียบแม่น้ำ ที่มีความทอดยาวตามลักษณะของประเทศ  ถนนสายสำคัญเป็นถนนที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งและจีนตอนใต้ มีความยามถึง 1,160 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่ คุณหมิง เข้าเมียนมา ผ่านเมือง พะโค ตองอู ปินมานา เมกติลา มัณฑะเลย์ เมเปียก กอดเต็ต สีปุ๊ อล่าเสี้ยว แสนหวี หมูแจ้

เส้นทางคมนาคมทางน้ำ มีความสำคัญกับเศรษฐกิจของเมียนมาคือ เป็นเส้นทางคมนาคมสายหลักมาตั้งแต่อดีต ส่วนใหญ่อยู่ในแถบแม่น้ำอิระวดีเพราะเป็นแหล่งที่อยู่หนาแน่นของพลเมือง

เส้นทางประเทศเมียนมา-ไทย-ลาว-เวียดนาม เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่พัฒนาตามโครงการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก(East-West Economic Corridor: EWEC) เป็นโครงการนำร่องภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุ ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงซึ่งจะก่อสร้างถนนเชื่อมโยง เมียนมาส้นทางของไทย ลาว และเวียดนามเข้าด้วยกัน รวม ระยะทางทั้งหมดประมาณ1,511 กิโลเมตร

เส้นทางฝั่งตะวันตกของไทยเริ่มจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตากไปยังเมือง เมียวดีไปยังท่าตอนและ ย่างกุ้งของเมียนมา ซึ่งมีถนนเชื่อมไปยังย่างกุ้งไทยและเมียนมาได้ร่วมรับผิดชอบการก่อสร้างถนนช่วงแม่ สอด/เมียวดี-เชิงเขาตะนาวศรี-กอกะเร็ก-ท่าตอน-ย่างกุ้งโดยรัฐบาลไทยได้เสนอให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า และให้เงินกู้แบบมีเงื่อนไขผ่อนปรนแก่รัฐบาลเมียนมาด้วยทั้งนี้ ถนนสายดังกล่าวก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2550 ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางไปมาระหว่างกันในภูมิภาคนี้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้นและเส้นทาง สายนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังอินเดียและประเทศในกลุ่มเอเชียใต้อื่นได้อีกด้วยๆ

เส้นทางประเทศเมียนมา-ไทย-จีน  เส้นทางนี้เป็นเส้นทางในโครงการพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้(North-South Economic Corridor) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงเช่นกันมีเส้นทางที่ เชื่อมโยงระหว่างไทยกับเมียนมาคือ เส้นทางR3b เชื่อมระหว่าง อำเภอแม่สายจังหวัดเชียงราย-ท่าขี้เหล็ก-เชียงตุง ของเมียนมาและสิ้นสุดปลายทางที่ต้าหลั่วประเทศจีน ซึ่งเป็นถนนเชื่อมต่อไปยังเมืองเชียงรุ้งและเมือง คุนหมิงในมณฑลยูนนานของจีนได้ด้วย รวมระยะทั้งทาง1,018 กิโลเมตร โดยไทยได้ช่วยสร้างสะพาน มิตรภาพไทย-เมียนมาแห่งที่2(เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กระยะทาง 1.48 กิโลเมตรขนาด 2 ช่องจราจร กว้าง 9 เมตร) บริเวณบ้านสันผักฮี้ อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ตรงข้ามกับอําเภอท่าขี้เหล็กของขาว เมียนมาเส้นทาง R3b ได้เปิดใช้ตั้งแต่เดือนเมษายน 2547

การขนส่งทางน้ำ มีแม่น้ำสายสำคัญ ดังนี้

  • แม่น้ำเอยาวดี (Ayeyarwaddy) (ชื่อเดิมคือ อิระวดี) มีความยาว 2,170 กิโลเมตร
  • แม่น้ำตาลวิน (Thanlyin) เดิมเรียกสาละวินมีความยาว 1,270 กิโลเมตร โดยไหลมาจากทิเบต ผ่านมณฑลยูนนานและประเทศไทย มาออกทะเลอันดามันที่มณฑลเมาะละแหม่ง
  • แม่น้ำซิทตวง (Sittaung) ไทยเรียกว่าแม่น้ำสะโตง มีความยาว 400 กิโลเมตร อยู่ภาคกลางฝั่ง ตะวันออกของประเทศ ไหลมาทางทิศใต้จากที่ราบสูงฉานมาออกทะเลอันดามันที่อ่าวมาตาบัน(Martaban) แม่น้ำซิทตวงเป็นเส้นทางขนส่งไม้ซุงโดยเฉพาะไม้สักเพื่อการส่งออก
  • แม่น้ำชินวิน (Chindwin) มีความยาว 960 กิโลเมตร ไหลจากทิศเหนือไปทิศใต้ของประเทศมา บรรจบกับ แม่น้ำเอยาวดีที่ มัณฑะเลย์

ทรัพยากรหลักของประเทศ

  • เขตฉาน อยู่ติดแม่น้ำ โขงปลูกพืชผักจำนวนมากเหมืองแร่ทอง
  • ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม
  • ภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ขุดแร่หินสังกะสี
  • ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุก
  • ภาคใต้ เมืองมะริดมีเพชรและหยก จำนวน มาก
  • ทางภาคเหนือ ทำป่าไม้ การทาป่าไม้สัก ส่งออกขายและล่องมาตามแม่น้ำอิระวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

จากรัฐธรรมนูญการปกครองของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปี พ.ศ. 2551 (Constitution of the Republic of the Union of Myan­mar 2008)ได้ให้ความสำคัญเรื่องความมั่นคงและสถานะทางอำนาจของผู้นำทางทหารที่ได้ผ่อนคลายอำนาจทางการเมืองให้ประชาชนโดยการเลือกตั้ง แต่ก็ยังคงแฝงความคิด ไว้ในรัฐธรรมนูญ ดูได้ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างรัฐ (State Structure) ที่อยู่ในหมวดที่สองของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองของเมียนมา โดยสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและหัวหน้ารัฐบาล มีรัฐสภาประกอบด้วย สภาสูง หรือ Upper House ซึ่งเป็นผู้แทนจากสภาชาติพันธ์ สภาประชาชน หรือ Lower House และสภาท้องถิ่น ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554 เมียนมามีกรุงเนปิดอว์เป็นเมืองหลวง

แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 รัฐ (State) สำหรับรัฐที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ประกอบด้วย

  • รัฐชิน (Chin) เมืองเอก คือ ฮะคา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียง- เหนือของเมียนมา มีพรมแดนด้านทิศเหนือและตะวันตกติดกับประเทศ อินเดีย รัฐชินยังมีพรมแดนติดกับรัฐยะไข่ เขตสกาย เขตมะกวย มีประชากรราว 465,361 คน มีพื้นที่ป่าไม้อยู่ประมาณ 1 ล้านไร่ (400,000 เอเคอร์) ส่วนใหญ่เป็นป่าสน ประชากรในรัฐนี้ทำการเกษตรเป็นหลัก ผลผลิตที่สำคัญ คือ ข้าวโพด ถั่วทุกชนิด มันฝรั่ง ดอกทานตะวัน ฝ้าย อ้อย ยาสูบ กาแฟ ส้ม และแอปเปิ้ล ประเพณีที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของ รัฐชิน คือ งานประจำชาติของชาวนากะ (นาคา)
  • รัฐคะฉิ่น (Kachin) เมืองเอก คือ มิตจีนา ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุด ของประเทศเมียนมา มีพรมแดนติดต่อกับประเทศจีน รัฐฉาน และเขตสกาย มีประชากรราว 1.2 ล้านคน สภาพอากาศทางใต้ของรัฐจะอบอุ่น กว่าทางเหนือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศทางเหนือของรัฐเป็นภูเขาสูง ที่มีหิมะปกคลุม ทำให้อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี นอกจากนี้รัฐคะฉิ่น ยังเป็นรัฐที่มีชื่อเสียงด้านการทอผ้าโสร่ง ทั้งในด้านคุณภาพของเนื้อผ้าและลวดลาย นอกจากนี้ยังมีงานประเพณีที่มีชื่อเสียง คือ งานคะฉิ่นมะโน หรือ งานจีนโป้ ซึ่งจัดขึ้นราวปลายเดือนธันวาคมของทุกปี ทุกคนจะ พร้อมใจกันแต่งกายสวยงาม จุดไฟ พร้อมทั้งเต้นระบำกันอย่างสนุกสนาน
  • รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) เมืองเอก คือ ปะอาน มีพรมแดนติดกับ รัฐฉาน กะยา เมืองตองอู สะเทิม เมาะละแหม่ง และอำเภอแม่สอด ประเทศไทย แม่น้ำที่สำคัญในรัฐนี้ คือ แม่น้ำสาละวิน มีประชากรทั้งสิ้น 1.5 ล้านคน มีประเพณีการเต้นระบำหมู่ที่มีชื่อเสียง ซึ่งจะเต้นกันในวัน ขึ้นปีใหม่ สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญในรัฐนี้ คือ ภูเขาชะเวกาบิน ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญคือ เหล็ก ตะกั่ว ทองแดง ดีบุก และถ่านหิน
  • รัฐคะยา (Kayah) (กะเหรี่ยงแดง) เมืองเอก คือ หลอยก่อ ตั้งอยู่ ทางทิศตะวันออกของประเทศ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดกับไทย และ ทางใต้ติดกับรัฐกะเหรี่ยง มีประชากรราว 240,000 คน มีเหมืองแร่ วุลเฟรม ดีบุก และดินสีแดงเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ทั้งนี้ ยังเป็นรัฐที่ผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนประเทศมาตั้งแต่สมัยอังกฤษจนถึง ปัจจุบัน โดยแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญในรัฐนี้ คือ บริเวณน้ำตกโลปิตะ (ใกล้กับน้ำตกทีลอซูของไทย) นอกจากนี้ มีการกล่าวถึง รัฐคะยาใน วรรณกรรมพื้นบ้านของเชียงใหม่เรื่อง นางมโนห์รากับพระสุธน ว่าเป็น ถิ่นที่อยู่ของนางมโนห์รา และยังกล่าวถึงน้ำตกเจ็ดชั้นในรัฐคะยา ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นที่เล่นน้ำของนางมโนห์ราก่อนถูกพระสุธน จับตัวไป
  • รัฐมอญ (Mon) เมืองเอก คือ มะละแหม่ง มีพรมแดนด้าน ตะวันออกติดกับรัฐกะเหรี่ยงและประเทศไทย หงสาวดีด้านเหนือติดเขต ปกครองหงสาวดี ด้านใต้ติดเขตปกครองตะนาวศรี ส่วนด้านตะวันตกติด กับทะเลอันดามัน และอ่าวเมาะตะมะ ประชาชนส่วนใหญ่ในรัฐนี้ คือ ชาวมอญ ซึ่งเป็นชนชาติเก่าแก่ที่สุดชาติหนึ่งใน เมียนมา ชาวมอญ ทั้งหมดนับถือศาสนาพุทธ พุทธสถานที่สำคัญและมีชื่อเสียงในรัฐนี้ก็คือ พระธาตุอินทร์แขวน หรือพระเจดีย์ไจ้เที่ยว
  • รัฐยะไข่ (Rakhine) เมืองเอก คือ ซิตตเว เป็นรัฐเก่าแก่ที่สุดรัฐ หนึ่งในเมียนมา มีอายุกว่า 3,000 ปี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของประเทศ ติดกับรัฐฉิ่น เขตมะกวย เขตหงสาวดี และเขตอิระวดี นอกจากนี้ยังมี พรมแดนติดอ่าวเบงกอลและบังคลาเทศอีกด้วย รัฐยะไข่เป็นเขตมรสุม เนื่องจากเป็นรัฐที่มีฝนตกชุก มีประชากรราว 2.6 ล้านคน ส่วนใหญ่นิยม อาศัยบริเวณหุบเขาและทะเล ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและ อิสลาม รัฐยะไข่มีพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่สำคัญ คือ พระมหามุนี พระพุทธรูปองค์แรกของพุทธศาสนา ซึ่งตามตำนานกล่าวไว้ว่าพระพุทธเจ้าทรงประทับเป็นแบบให้ช่างหล่อก่อนจะอัญเชิญองค์ พระพุทธรูปที่หล่อเสร็จแล้วไปประดิษฐาน ณ วัดมหามุนี เมืองมัณฑะเลย์ ปัจจุบันคือพระมหามุนี พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่มที่เป็นที่รู้จักกันดี ส่วนพระมหามุนีองค์ต้นแบบนั้นยังคงประดิษฐานอยู่ที่ยะไข่ตราบถึงปัจจุบัน
  • รัฐฉาน หรือ รัฐไทใหญ่ (Shan) เมืองเอก คือ ตองยี ตั้งอยู่ทาง ทิศตะวันออกของประเทศ มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ลาว และไทย รวมถึงรัฐกะฉิ่นและรัฐกะยา เขตสกาย เขตมัณฑะเลย์ มีประชากรราว 4.7 ล้านคน รัฐฉานเป็นรัฐที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์มาก ที่สุด มีชนเผ่าอยู่รวมกันมากมายกว่า 80 ชาติพันธุ์ ทำให้มีภาษาถิ่น มากมายตามไปด้วย ทะเลสาบกลางหุบเขามีระดับความสูงกว่าห้าพันฟุต เหนือระดับน้ำทะเล การดำรงชีวิตของชาวบ้านในทะเลสาบอาศัยน้ำเป็น หลัก ไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือสวนมะเขือเทศ ที่ทำกินต่างก็ลอยอยู่เหนือน้ำทั้งสิ้น นอกจากนี้การพายเรือในทะเลสาบก็พายด้วยขาไม่ใช้มือพายเช่นที่อื่นๆ นับเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวอินตา ชนพื้นเมืองเผ่าหนึ่งของทะเลสาบอินเลแห่งนี้ วัดที่สำคัญในทะเลสาบอินเล ได้แก่ วัดพองดอว์อู ซึ่งประดิษฐานพระบัวเข็มห้าองค์ ซึ่งมีประวัติและตำนาน ของความศักดิ์สิทธิ์มากว่าเก้าร้อยปีตั้งแต่สมัยพุกาม วัดงาแพชอง วัดที่เจ้าฟ้าไทยใหญ่สร้างถวาย ภายในเป็นที่รวบรวมบัลลังก์พระพุทธรูป ทำด้วยไม้สักแกะสลัก ฝีมือละเอียดงดงามมาก นอกจากนี้มีโรงงาน ทอผ้าไหมอินเล ซึ่งมีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

ในส่วนประชากรเชื้อสายพม่า ที่ประชากรส่วนใหญ่ แบ่งออกเป็น 7 เขต (Division) ประกอบด้วย

  • เขตอิระวดี (Ayeyarwady) เมืองเอก คือ พะสิม ตั้งอยู่ทางตอน ใต้ของที่ราบภาคกลาง มีพรมแดนทางเหนือติดกับเขตปกครองหงสาวดี และ ย่างกุ้ง มีภูมิอากาศแบบมรสุม เขตปกครองอิระวดีมีประชากรราว 5 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นชาวเมียนมา กะเหรี่ยง และยะไข่ ป่าไม้ ส่วนใหญ่ในเขตนี้อยู่ในเขตภูเขาสูง ผลผลิตอื่นนอกจากข้าว คือ ข้าวโพด งา ถั่วลิสง และถั่วต่างๆ งานประเพณีทางศาสนาที่สำคัญ คือ งานประจำปีของพระเจดีย์มอตินซุนบริเวณแหลมเนเกรในมหาสมุทรอินเดีย
  • เขตพะโค (Bago) หรือ เมืองหงสาวดี เมืองเอก คือ พะโค มี ประชากรประมาณ 5 ล้านคน ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเมียนมา ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะทางตอนใต้ของประเทศเมียนมา ต่อมาพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ยึดครองได้และสถาปนาเป็นศูนย์กลางอำนาจของ ราชวงศ์ตองอู หงสาวดีเจริญรุ่งเรืองสุดขีดในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างพระราชวังของพระองค์ชื่อ กัมโพชธานี ซึ่ง นับเป็นพระราชวังใหญ่โต สร้างโดยเกณฑ์ข้าทาสจากเมืองขึ้นต่างๆ โดย หนึ่งในนั้นมีเมืองเชียงใหม่และอยุธยารวมอยู่ด้วย จนถึงสมัยพระเจ้านันทบุเรงที่เสด็จหนีพระนเรศวรไปเมืองตองอูและเผาทำลายหงสาวดี หลังจากนั้นไม่นานเมืองอังวะก็กลายเป็นเมืองหลวงของประเทศ เมียนมาโดยสมบูรณ์ ปัจจุบันหงสาวดีเป็นเมืองที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ เมียนมาด้วยความที่เป็นเมืองท่องเที่ยว มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และศิลปะวัฒนธรรม โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ พระเจดีย์ชเวมอดอว์ (พระธาตุมุเตา) พระราชวังบุเรงนอง พระพุทธไสยาสน์ชเวตาเลียว พระเจดีย์ไจ๊ปุ่น เป็นต้น
  • เขตมาเกว (Magway) เมืองเอก คือ มาเกว ตั้งอยู่ตอนกลาง ของประเทศ มีลักษณะภูมิประเทศแบบทะเลทราย มีอากาศร้อน อยู่ติด กับเขตปกครองมัณฑะเลย์ หงสาวดี รัฐยะไข่ และฉิ่น มีประชากรราว 4 ล้านคน ส่วนใหญ่ คือ เมียนมา ฉิ่น ยะไข่ คะฉิ่น และฉาน อุตสาหกรรมที่สำคัญในเขตนี้ คือ โรงงานปูนซีเมนต์ ยาสูบ เหล็ก สถานที่ท่องเที่ยวที่ สำคัญคือโบราณสถานวิษณุ ซึ่งมีการขุดพบเครื่องประดับทำด้วยทองคำ ลูกปัดสมัยศรีเกษตร
  • เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) เมืองเอก คือ มัณฑะเลย์ พื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีภูเขามัณฑะเลย์เป็นจุดศูนย์กลางของเมือง เขตนี้มีพรมแดนติดกับเขตปกครองสกาย หงสาวดี มะกวย และรัฐฉาน รัฐกะเหรี่ยง มีประชากรราว 6 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นเมียนมาและ ไทยใหญ่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจำพวก ชา กาแฟ ดอกไม้เมืองหนาว พลับ องุ่น เกาลัด นอกจากนี้ยังมีป่าไม้ เช่น ไม้สัก ไม้มะค่า ไม้ประดู่ นอกจากนี้ยังมีเหมืองทับทิม ไพลิน หยก และยังเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากเมืองมัณฑะเลย์เคยเป็น อดีตเมืองหลวงและศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ สถานที่ที่ควรไปชม คือ พระราชวังมัณฑะเลย์ พระราชวังไม้สักสร้างขึ้นใหม่ตามผังเดิมแทนที่ พระราชวังเก่าที่ถูกไฟไหม้เสียหาย วัดชะเวจองดอว์ วัดไม้สัก ซึ่งช่าง บรรจงแกะสลักไว้อย่างงดงาม ในอดีตเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จ พระสังฆราชเมียนมา วัดกุโสดอว์ วัดซึ่งมีพระไตรปิฎกสลักบนหินอ่อน 729 หลัก ได้รับสมญานามว่าเป็นสมุดหินเล่มใหญ่ หากมามัณฑะเลย์ แล้วต้องไปชมพิธีล้างพระพักตร์พระมหามุนี พระพุทธรูปทองคำเนื้อนิ่ม คู่บ้านคู่เมืองมัณฑะเลย์ พิธีนี้เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ซึ่งปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานนับพันปี โดยเจ้าอาวาสผู้ทำหน้าที่ล้างพระพักตร์จะได้รับ การคัดเลือกมาจากเจ้าอาวาสทั่วประเทศให้เป็นผู้กระทำพิธีนี้ โดยพิธี จะเริ่มในเวลา 00 น.ของทุกวัน
  • เขตสะกาย (Sagaing) เมืองเอก คือ สะกาย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือมีพรมแดนติดกับรัฐกะฉิ่น ฉาน เขตปกครอง มัณฑะเลย์ มะกวย และประเทศอินเดีย มีพลเมืองราว 1 ล้านคน รัฐนี้ทำการเกษตรเป็นหลักมีเขื่อนกาโบและคลองชลประทานคอยส่งน้ำผลผลิตที่สำคัญของเขตนี้ คือ ไม้สัก ไม้ทานาคา น้ำผึ้ง หวาย และไม้ไผ่ นอกจากนี้ ศูนย์กลางทางพุทธศาสนาที่สำคัญก็อยู่ที่เขตปกครองสะกายนี้ด้วย ประเพณีที่สำคัญของเขตสะกายคือ พิธีการถวายข้าว ณ พระเจดีย์ปาดาเมีย เป็นพิธีประจำปีที่สำคัญ
  • เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) เมืองเอก คือ ทวาย มีพรมแดน ด้านทิศใต้และตะวันออกติดกับทะเลอันดามัน มีประชากรราว 2 ล้าน คน เนื่องด้วยภูมิประเทศของรัฐนี้เป็นชายฝั่งทะเล ประชากรจึงทำอาชีพ ประมงเป็นส่วนใหญ่ มีการเพาะพันธุ์หอยนางรม รวมไปถึงการผลิตไข่มุก ที่มีคุณภาพ มีรังนก ดีบุก และทรายเพื่อการผลิตแก้ว
  • เขตย่างกุ้ง (Yangon) เมืองเอก คือ ย่างกุ้ง อยู่บริเวณที่ราบ ภาคกลางค่อนไปทางใต้ มีพรมแดนติดกับอ่าวเมาะตะมะ เขตปกครอง หงสาวดี และเขตปกครองอิระวดี ภูมิอาศร้อนชื้น มีประชากรราว 5 ล้าน คน เมืองหลวงของเขตปกครองนี้ คือ เมืองย่างกุ้ง ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวง ของประเทศเมียนมาด้วย ย่างกุ้งเป็นที่อยู่ของที่ทำการรัฐบาล มหาวิทยาลัย โรงงาน อุตสาหกรรมศูนย์กลางธุรกิจการค้า ศูนย์กลาง คมนาคม และที่สำคัญที่สุด พระเจดีย์ชะเวดากอง พระเจดีย์ทองคำสัญลักษณ์ประเทศเมียนมาก็อยู่ที่เขตปกครองย่างกุ้ง

เมืองสำคัญ/เมืองท่า

  • นครเนปิดอว์ (Nay Pyi Daw): เมืองหลวงและศูนย์ราชการ เดิมตั้งอยู่ในเขตเมืองปินมานา (Pyinmana) ซึ่งห่างจากกรุงย่างกุ้งไปทางตอนเหนือราว350 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์โดยใช้เวลาประมาณ 7 ชั่วโมง ตั้งอยู่บนพื้นที่ราว 7 พันตารางกิโลเมตร (กว่า 4 เท่าของพื้นที่กรุงเทพมหานคร) ได้รับการวางผังเมืองเป็น 4 โซนหลัก คือ โซนราชการ โซนทหาร โซนโรงแรม และโซนอุตสาหกรรม ปัจจุบันนครเนปิดอว์ มีบทบาทเป็นศูนย์กลางราชการและงานบริหารประเทศและเป็นที่ตั้งหน่วยงานของกองทัพทหาร และเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การบริหารของประธานาธิบดีของพม่าโดยตรง และมีประชากรอยู่ราว 9 แสนคน
  • กรุงย่างกุ้ง เดิมมีชื่อว่าเมือง “ดาโกง” (Dagon) แม้ว่าปัจจุบันจะมีสถานภาพเป็นเพียงอดีตเมืองหลวงของประเทศ แต่ย่างกุ้งก็ยังคงความสำคัญในการเป็นเมืองศูนย์กลางการค้ากระจายสินค้าไปสู่ทั่วทุกภูมิภาคของ ประเทศ โดยมีประชากรหนาแน่นถึง4 ล้านคน นอกจากนี้ย่างกุ้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและการ ส่งออกไม้สัก นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่ส่งเสริมให้มีเขตนิคมอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคมากกว่าเมืองอื่น อุตสาหกรรมที่น่าลงทุนได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค อุตสาหกรรมการประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจการบริการ เช่น ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถ และสถาบันฝึกอบรม สถาบันส่งเสริมวิชาชีพอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมไม้แปรรูป การผลิตของชำร่วยและสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้ เป็นต้น
  • เมืองมัณฑะเลย์ เป็นเมืองสำคัญอันดับ2 ของพม่า และมีประชากรประมาณ 1 ล้านคน มีบทบาทเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ ทางตอน บนของประเทศและเป็นเส้นทางผ่านสินค้าชายแดนของพม่ากับประเทศอินเดีย (ผ่านเมืองทามู เมืองชายแดนของพม่าที่ติดกับเมืองโมเรห์ของอินเดีย) และจีน (ผ่านเมืองมูเซ เมืองชายแดนของพม่าที่ติดกับเมืองรุ่ยลี่ของจีน) เป็นฐานการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุนที่สำคัญ เนื่องจากเป็นแหล่งวัตถุดิบจากภาคเกษตรที่นิยมปลูกฝ้าย ยาสูบ และธัญพืช อีกทั้งยังเป็นศูนย์กลางศาสนาและวัฒนธรรมที่สำคัญ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมเป็นศูนย์กลางพัฒนาด้านเทคโนโลยีของประเทศ โดยมีการจัดตั้ง Cyber city ที่เมือง Yatanarpon (Yatanarpon Cyber City ในความรับผิดชอบของกระทรวงการสื่อสารและไปรษณีย์  ในเรื่องของการคมนาคมทางอากาศ มัณฑะเลย์ มีท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดและทันสมัยที่สุด สามารถรองรับผู้โดยสารได้มากกว่า 3 ล้านคนต่อปี ส่วนใหญ่รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติและนักธุรกิจที่เข้ามาทำธุรกิจในพม่า ด้านการขนส่งทางรางยังเป็นเส้นทางเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างตอนล่างและตอนบนของประเทศ ทั้งยังสามารถเชื่อมไปยังเส้นทางรถไฟในยุโรปและเอเชียใต้ได้ด้วย ส่วนการคมนาคมทางถนน นับว่าค่อนข้างกระจุกตัวและหนาแน่นจากปริมาณรถยนต์และรถจักรยานยนต์จำนวนมาก ทำให้การจราจรไม่คล่อง ตัวนักและเกิดความล่าช้าในการขนส่งสินค้า
  • เมืองหงสาวดีหรือพะโค (อ่านออกเสียงตามสําเนียงเมียนมาว่า หานตาวดี) ภาษาอังกฤษเรียกว่า Bago หรือPegu มีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเมียนมา ห่างจากย่างกุ้งไปทางตะวันออก เฉียงเหนือประมาณ80 กิโลเมตร มีบทบาทเป็นแหล่งปลูกข้าวและเกษตรกรรมสำคัญของประเทศเนื่องจากมีพื้น ที่ส่วนใหญ่ที่ราบและใกล้แหล่งน้ำหลายแหล่ง ทั้งยังเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล โรงงานทอผ้า และโรงงานผลิตเครื่องเซรามิก นอกจากนี้ เมืองพะโคยังเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่มีโบราณสถานสำคัญหลายแห่ง นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ  กิจการที่มีโอกาสเติบโตได้แก่ โรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร อู่ซ่อมรถ และร้านทำผม
  • เมืองเมาะละแหม่ง/เมาะลำไย (Mawlamyine) เป็นเมืองเอกของรัฐมอญ มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน เมืองเมาะละแหม่งมีเส้นทางถนนที่เชื่อมระหว่างกรุงย่างกุ้ง ทวาย และรัฐเกรี่ยง ซึ่งเป็นเส้นทางการค้า และใช้เส้นทางคมนาคมทางบกที่สำคัญระหว่างเมียนมาและไทย ได้รับความนิยมมากกว่าเส้นทางอื่น เนื่องจากความสะดวกและค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และด้วยตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของเมาะละแหม่งที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำสาละวิน บริเวณที่ติดกับทะเลอันดามัน ทำให้เคยมีความพยายาม สร้างท่าเรือน้ำลึกขึ้นที่เมาะละแหม่ง แต่ด้วยความไม่เหมาะสมของสภาพพื้นที่ทำให้โครงการนี้หยุดชะงักไป เมืองนี้มีชื่อเสียงถึงความอุดมสมบูรณ์ของผลผลิตทางการ เกษตร อาทิ ข้าว ผลไม้เมืองร้อน และไม้สัก อีกทั้งเป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และเป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่ง
  • เมืองเมียวดี ในรัฐกระเหรี่ยง มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน เป็นเมืองชายแดนด้านตะวันออกของเมียนมาติดกับอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยมีแม่น้ำเมยเป็นเขตกั้นและเชื่อมด้วยสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา เป็นตลาดการค้าชายแดนที่สำคัญ เป็นเมืองกระจายสินค้าผ่านชายแดนที่สำคัญโดยอาศัยเส้นทางถนนที่เชื่อมระหว่างเมืองเมียววดี-เมืองกอกะเร็ก (รัฐกะเหรี่ยง)-เมืองผะอัน (รัฐกะเหรี่ยง)-เมืองท่าตอน(รัฐมอญ)-เมืองพะโค(เขตพะโค)-กรุงย่างกุ้ง นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดตั้งเขตเศรษฐกิจ พิเศษเมียวดีขึ้นเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจชายแดนเมียวดี-แม่สอด บนพื้นที่กว่า700 เอเคอร์ (ราว 1,770 ไร่) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้าง

เศรษฐกิจ

นโยบายด้านเศรษฐกิจการค้าเมียนมา

ในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจากอดีตมาถึงปัจจุบันเมียนมาได้ใช้ระบบเศรษฐกิจหลายระบบ เริ่มจากระบบตลาดเสรี (Free market system) ระหว่างปี 2429 – 2491 ในยุคอาณานิคมของสหราชอาณาจักรมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสมผสาน โดยให้แรงขับเคลื่อนทางการตลาดมีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนา ต่อมาระหว่างปี 2505 – 2531 เป็นระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม และในปี 2531 จนถึงปัจจุบันหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council (SPDC)) ได้กำหนดให้ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาด SPDC ได้ปฏิรูปมาตรการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำและสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศได้

ก่อนที่เมียนมาจะกำหนดแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติอย่างชัดเจน ได้มีนโยบายเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในประเทศเพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนเน้นความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกัน ได้แก่ จีน ลาวและไทยไปพร้อมกัน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตภาคเกษตรกรรมและภาคบริการ (การท่องเที่ยว)

อย่างไรก็ตาม แผนพัฒนาเศรษฐกิจในอดีตจะมุ่งเน้นในการพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมเป็นหลักภายใต้การปกครองโดยสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (SPDC) สภาพทางเศรษฐกิจของประเทศได้ขยายตัวขึ้น กล่าวคือในปี 2532 – 2534 เศรษฐกิจเริ่มกระเตื้องขึ้นเล็กน้อย หลังจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ติดลบต่อเนื่องกัน 3 ปี และจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับแรก (2535 – 2538) อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP อยู่ที่ 7.5% และจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 2 (2539 – 2543) อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 8.5% สำหรับในช่วง แผนพัฒนาฉบับที่ 3 (2544 – 2548) อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติหรือ GDP อยู่ที่ 10.5% แผนพัฒนาฉบับที่ 4 (2549 – 2553) อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติอยู่ที่ 8%

รัฐบาลเมียนมาได้ดำเนินนโยบายระบบเศรษฐกิจเสรี โดยให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการผลิต การจัดการ รวมทั้งได้เปิดประเทศให้มีการค้าเพิ่มมากยิ่งขึ้นโดยลักษณะของนโยบายด้านการค้าดังนี้ คือ

  • ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก (ไม่ใช่การเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่) ทำให้ผลผลิตและการส่งออกของพืชเศรษฐกิจบางชนิด เช่น ข้าว ธัญพืช ฝ้าย อ้อย งา ถั่ว และดอกทานตะวันเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าว ยังไม่สามารถดำเนินการได้ผลเต็มที่ เนื่องจากรัฐบาลเมียนมาควบคุมราคาพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น ข้าว และอ้อย
  • ส่งเสริมการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า เช่น น้ำมัน (edible oil) และกระดาษ เพื่อลดการขาดดุลการค้าและรักษาปริมาณเงินทุนสำรองต่างประเทศ
  • ขยายภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้หลากหลาย โดยรัฐบาลเมียนมาให้การส่งเสริมรัฐวิสาหกิจของเมียนมาในการผลิตเครื่องจักรยานพาหนะและอุปกรณ์ โทรทัศน์ อุปกรณ์สื่อสาร สิ่งทอ เครื่องใช้ไฟฟ้า น้ำตาล ยาง ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากไม้ อย่างไรก็ดี รัฐบาลเมียนมาไม่ได้ให้การสนับสนุนในด้านนี้ต่อภาคเอกชน หรือนักลงทุนต่างชาติ

กฎระเบียบทางการค้าที่สำคัญ 

มาตรการนำเข้า – ส่งออก

ผู้ทำธุรกิจนำเข้าส่งออกสินค้า ต้องยื่นจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าส่งออกที่สำนักงานทะเบียนนำเข้า – ส่งออก (Export Import Registration Office) กระทรวงพาณิชย์ของ เมียนมา ค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียน ธุรกิจนำเข้า

– ส่งออก เป็นเงิน 50,000 และ 100,000 จ๊าต โดยมีระยะเวลาในการดำเนินธุรกิจ 1 และ 3 ปี ตามลำดับ ผู้ที่จะทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกสินค้า จะต้องยื่นขอจดทะเบียนเป็นผู้นำเข้าและส่งออกที่สำนักงานทะเบียนนำเข้า-ส่งออก (Export-Import Registration Office) กรมการค้าพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์

คุณสมบัติของผู้นำเข้าและส่งออก

  • บุคคลธรรมดาที่มีสัญชาติเมียนมาหรือที่แปลงสัญชาติเป็นเมียนมา (Naturalized Citixenship)
  • ห้างหุ้นส่วน บริษัทที่จัดตั้งในเมียนมา
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทร่วมทุน ที่จัดตั้งขึ้นภายในกฎหมายการลงทุนต่างประเทศของเมียนมา
  • สหกรณ์ที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายสหกรณ์ของเมียนมาในปี 2533

สิทธิของผู้จดทะเบียน

  • สามารถส่งออกสินค้าทุกชนิด ยกเว้น ไม้สัก น้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ไข่มุก หยก อัญมณี แร่ธรรมชาติ และสินค้าอื่นๆ ที่ระบุว่าสามารถดำเนินการได้โดยหน่วยงานรัฐวิสาหกิจแต่เพียงผู้เดียว
  • สามารถนำเข้าสินค้าทุกชนิดตามเงื่อนไขของกฎและระเบียบที่ระบุไว้ ยกเว้นสินค้าที่เป็นสินค้าห้ามนำเข้า
  • สามารถจำหน่ายสินค้าในตลาดภายในประเทศได้
  • สามารถยื่นขอหนังสือเดินทางประเภทธุรกิจไปต่างประเทศได้

(ที่มา :  โดย กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์)

แนวโน้มเศรษฐกิจเมียนมา หลังจากที่เมียนมามีการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นานาชาติ ทยอยยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมา ดังนั้น เมียนมาจึงเริ่มดำเนินนโยบายการค้าเสรีกับ กลุ่มประเทศและบริษัทข้ามชาติ โดยเฉพาะที่ไม่มีท่าทีแทรกแซงกิจการภายในของเมียนมา เช่น จีน รัสเซีย รวมทั้งอาเซียน (ASEAN) ทำให้บริษัทต่างชาติให้ความสนใจลงทุนในเมียนมามากขึ้น

เมียนมาได้ประกาศใช้กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 โดยอนุญาตให้ ชาวต่างชาติสามารถเข้าลงทุนโครงการได้ 100% รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีต่างๆ จากการประการใช้กฎหมายการลงทุนดังกล่าว คาดว่าจะมีนักลงทุนต่างชาติสนใจเข้าไปลงทุนใน เมียนมาร์มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2557 รัฐบาลเมียนมาร์ได้เริ่มออกใบอนุญาตให้ต่างชาติเข้าไปขยายธุรกิจ สาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในโครงการต่างๆ เช่น โครงการธุรกิจโทรคมนาคม (เทเลนอร์และโอเรดู), โครงการพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษติลาวา, โครงการสร้างสนามบินนานาชาติที่เมืองหงสาวดี, โครงการ พัฒนาไฟฟ้าโดยธนาคารโลก, โครงการพัฒนาระบบประปาในย่างกุ้ง, โรงงานผลิตปูนซีเมนต์โดย SCG, โครงการด้านพลังงานโดย ปตท.สผ. และโครงการพัฒนาระบบรถไฟในเมียนมา เป็นต้น

วิเคราะห์ โอกาสเศรษฐกิจ เมียนมา

เมียนมาเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรหนาแน่น ประมาณ 64 ล้านคน มีอาณาเขตติดกับจีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาว และไทย ทำให้เมียนมาเป็นประเทศที่อยู่ท่ามกลางของกลุ่มประเทศ อาเซียน และเอเซียใต้ ทำให้มีความได้เปรียบในการติดต่อทำการค้า การส่งออกและนำเข้า รวมทั้ง การส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศต่างๆ นอกจากนี้เมียนมายังอุดมสมบูรณ์ไปด้วย ทรัพยากรธรรมชาติ เหมาะแก่การเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจเมียนมาถูกคาดว่าจะขยายตัวถึงร้อยละ 7.8 ในปี 2557-2558 โดยในปีที่ผ่านมา เมียนมาเป็นตลาดส่งออกอับดับที่ 16 ของไทย (อันดับที่ 7 ในกลุ่มประเทศอาเซียน) การส่งออก ของไทยไปเมียนมามีมูลค่า 3,788 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

การพัฒนาตลาดของเมียนมาในอนาคตอาจจะพัฒนามากขึ้นจากการเข้าเป็นสมาชิก AEC และจากขนาดตลาดเมียนมาที่มีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับตลาดของไทย ทำให้ไทยสามารถใช้เมียนมาเป็นประตูระบายสินค้าของไทยสู่ประเทศที่สาม รวมทั้งใช้เมียนมาเป็นฐานในการผลิตสินค้าเพื่อการ ส่งออกในอนาคต รวมถึงจากการที่เมียนมาเป็นประเทศที่มั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ แผนการเปิดด่านถาวรไทย-เมียนมาที่เพิ่มขึ้นจะเป็นการเพิ่มช่องทางการกระจาย สินค้า การค้าชายแดนสู่ตลาดเมียนมาผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้า ไปขยายธุรกิจในเมียนมาซึ่งจะเติบโตได้อีกมากในอนาคต ส านักพัฒนาตลาดประชาคมเศรษฐกิจ

ที่มา : อาเซียนและเอเชีย / กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

สภาพเศรษฐกิจการค้าในปัจจุบัน

สกุลเงินและอัตราแลกเปลี่ยน : เมียนมา

สกุลเงิน
: จ๊าต (Kyat) ตัวย่อ MMK
อัตราแลกเปลี่ยน
: 30 จ๊าต = 1 บาท
(ข้อมูล พฤษภาคม ปี 2556)
: 899 จ๊าต = 1 ดอลลาร์สหรัฐ

ภาวะเศรษฐกิจ

เมียนมา เป็นประเทศกําลังพัฒนาขั้นต่ำหรือมีรายได้เฉลี่ยต่อคนอยู่ในเกณฑ์ต่ำมากอาชีพ เกษตรกรรมถือเป็นอาชีพหลักของชาวเมียนมา ปลูกพืชประเภทข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อยและพืชเมืองร้อน อื่น ๆ นอกนั้นจะเป็นการทำเหมืองแร่ภาคกลางตอนบนมีอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียม ภาคเหนือทำป่าไม้สัก ด้านอุตสาห กรรมกำลังมีการพัฒนาอยู่บริเวณตอนล่างของประเทศ เช่น ย่างกุ้ง

เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนหลังการเลือกตั้ง

ปัจจุบันประเทศเมียนมาเริ่มมีการเปิดกว้างสำหรับนักธุรกิจ นักลงทุน บางส่วนมีการลงไปแล้วตั้งแต่ ค.ศ. 1997 โดยเมียนมาพยายามเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากไทย สินค้าจากประเทศไทยถูกจัดเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับ การยอมรับในเรื่องคุณภาพมากกว่าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านประเทศอื่น แต่ทั้งนี้การทำธุรกิจในเมียนมา มิใช่เรื่องที่ง่ายนัก เนื่องจากมีการกำหนดสัดส่วนการนำเข้าของสินค้าตามที่รัฐบาลกำหนด แต่หลังการเปลี่ยนแปลง

ค.ศ. 2010 การทําธุรกิจในเมียนมามีความชัดเจนมากขึ้น มีรูปแบบการเปิดประมูลในการลงทุนด้านธุรกิจ มีการแข่งขันที่มากขึ้น การทําธุรกิจมีระบบสัมปทาน แต่รูปแบบธุรกิจแบบเทรดดิ้งยังไม่เปิดให้นักลงทุนต่างชาติ มากนักเพราะพื้นฐานของชาวเมียนมา มีลักษณะแนวคิดชาตินิยม จึงมีการปกป้องธุรกิจรายย่อยของคนเมียนมา มากกว่า นอกจากนี้ยังมีการปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับให้เอื้อต่อการลงทุนมากขึ้น ซึ่งต่างชาตินั้นเล็งเห็น ทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ของเมียนมาที่เป็นช่องทางของโอกาสการลงทุน

หากเปรียบเทียบชาติต่าง ๆ ที่เข้ามาลงทุนในเมียนมา ประเทศไทยได้รับการยอมรับด้านการร่วมลงทุน มากกว่าจีน ด้วยประเทศไทยมีความใกล้ชิดสัมพันธ์มากกว่าและเมียนมาเองก็มีมุมมองที่ดีต่อไทยในฐานะ ประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่มองประเทศจีนในการลงทุนที่เป็นรูปแบบการฉกฉวยประโยชน์จากเมียนมา ดังจะเห็นได้ จากการระงับโครงการการลงทุนสร้างเขื่อนกับประเทศจีน แต่ทั้งนี้หลังการเลือกตั้งโอกาสลงทุนในเมียนมา หลังการปฏิรูปทางการเมือง จากมุมมองของนักธุรกิจไม่ว่าจะมีการตกลงในสถานะใดนั้น เมียนมาก็ยังต้องการ การพัฒนาค่อนข้างมาก แต่จะต้องมีความชัดเจนในเชิงนโยบายมากกว่านี้

ดังนั้นสภาพโดยทั่วไปสําหรับการลงทุนขนาดใหญ่ก็ยังคงชะลอตัวอยู่อีกทั้งบทบาทของนางอองซาน จากพรรคที่ได้รับชัยชนะ ที่เน้นการลดช่องว่างคนรวยคนจน อาจจะมีผลต่อนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่สวนทาง กับรัฐบาลทหารของอดีตประธานาธิบดีเต็งเส่ง ที่ผ่านมานักธุรกิจเมียนมาเองมีการลงทุนผ่านประเทศสิงคโปร์ และเปิดให้ธนาคารต่างประเทศเข้าไปลงทุน เพื่อสนับสนุนกับประเทศที่เข้าไปเพื่อการลงทุน

โอกาสและทิศทางการลงทุน

หลังจากปี2554 รัฐบาลมีนโยบายผ่อนปรนต่อนักลงทุนและเปิดประตูทางเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาประเทศ เมียนมาจึงเป็นประเทศเศรษฐกิจใหม่มาแรงที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ประกอบกับความอุดมสมบูรณ์ของ ทรัพยากรธรรมชาติเหมาะแก่การเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมมีหลายภาคส่วนของธุรกิจการลงทุนที่รอ การพัฒนาและการเรียนรู้จากนักลงทุนต่างชาติการปิดประเทศตลอดระยะเวลา 50 ปีกับเศรษฐกิจระบบปิด ทาให้เมียนมาต้องเริ่มต้นนับหนึ่งเพื่อการสร้างกําลังคนในการขับเคลื่อนประเทศํ ซึ่งลักษณะเด่นทางภูมิศาสตร์ ของเมียนมา ก็คือ สามารถเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน ประกอบกับ ประเทศจีนซึ่งอาณาเขตที่ติดต่อการค้าชายแดนก็มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น ทําให้เมียนมาเป็นศูนย์กลางที่จะ เชื่อมโยงการกระจายสินค้าและบริการไปยังผู้บริโภคกลุ่มใหญ่จํานวน 2,700 ล้านคน หรือ 1 ใน 3 ของประชากรโลก (ธนาคารไทยพาณิชย์,2557) อันประกอบไปด้วย จีน อินเดีย บังคลาเทศ ลาวและไทย

หลังจากการปฏิรูปทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นานาชาติทยอยกันยกเลิก มาตรการควําบาตรต่อเมียนมา่ เช่น 1) การประกาศใช้กฎหมายการลงทุนฉบับใหม่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 2) การอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนโครงการได้ร้อยเปอร์เซ็นต์3) การให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี (โพสต์ทูเดย์, 2558) โดยรัฐบาลเมียนมาได้วางกรอบการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจระยะ 5 ปีเน้นการพัฒนา หลายด้านไปพร้อม ๆ กัน ด้านเศรษฐกิจจะมุ่งเน้นการพัฒนาระบบการเงิน การธนาคาร ระบบการคลังและภาษี การค้าและการลงทุน การพัฒนาศักยภาพภาคเอกชน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมและ ภาคเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมุ่งพัฒนาด้านสุขภาพและการศึกษา บรรษัทภิบาลและความโปร่งใส ด้าน

โทรคมนาคม ด้านโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งระบบขั้นตอนการทํางานของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ คือ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยโครงการ ขนาดใหญ่3 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย 2) โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ติละวา และ 3) โครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเจ้าพิ่ว

การลงทุนของประเทศไทยในเมียนมา ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550/51-2556/57 ผู้ประกอบการไทย ส่วนใหญ่เข้าไปลงทุน ประเทศไทยได้เปรียบประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ ในอาเซียน ตรงที่ความสัมพันธ์ที่ดีของ รัฐบาลทั้งสองประเทศ รวมถึงความเชื่อมั่นต่อคุณภาพสินค้าประเภทอุปโภค บริโภคของไทย จึงเป็นโอกาสที่ดี ทางการตลาดของไทย โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมแปรรูป สัตว์น้ํา การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ เนื่องจากเมียนมาเพิ่งเปิดประเทศ จึงมีการก่อสร้างขึ้นมากมาย และกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทอาหารและอาหารแปรรูป (กรมประชาสัมพันธ์,2558) จึงเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุนที่จะเข้าไปเปิดตลาด โดยประเทศไทยเองมีภาพลักษณ์ ของสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นที่ไว้วางใจ ธุรกิจเหล่านี้จึงเป็นโอกาสทองของไทยที่รัฐบาลไทยควรให้ การสนับสนุนด้วย

จุดแข็ง (กรมประชาสัมพันธ์,2558)

  • มีทรัพยากรธรรมชาติอยู่เป็นจํานวนมากและอุดมสมบูรณ์
  • ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์สามารถเชื่อมโยงการขนส่งกับต่างประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • มีแรงงานจํานวนมากและราคาค่าแรงต่ำ

โอกาส (วุฒิสภา, 2558)

  • คนเมียนมานิยมซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่ผลิตในประเทศไทย
  • มีการลงทุนก่อสร้างศูนย์การค้าเพิ่มขึ้นจํานวนมาก
  • ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี(GSP) จากประเทศคู่ค้า
  • การพัฒนาพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ําลึกทวายจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สําคัญในภูมิภาค

จุดอ่อน

  • ไม่มีความพร้อมด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน (Infrastructure) ยังมีไม่เพียงพอและไม่ได้มาตรฐาน
  • แรงงานส่วนใหญ่เป็นแรงงานไร้ฝีมือ
  • กําลังซื้อภายในประเทศของคนส่วนใหญ่ยังต่ำ
  • นโยบายของรัฐบาลไทยและเมียนมายังไม่ชัดเจน
  • ระบบการเงินไม่เสถียรภาพ ธนาคารพาณิชย์ในเมียนมาผูกขาดโดยรัฐบาล
  • เส้นทางคมนาคมไม่สะดวก
  • กฎระเบียบทางการค้ามีการเปลี่ยนแปลงบ่อย

ปัญหาและอุปสรรค

  • ความไม่สงบตามแนวชายแดนอันเนื่องมาจากปัญหาชนกลุ่มน้อย เกิดการปิดด่านบ่อยครั้งซึ่งจะ ส่งผลต่อการขนส่ง ทําให้สินค้าไทยซึ่งเป็นที่นิยมของชาวเมียนมาเกิดภาวะขาดตลาด ตรงจุดนี้จะ ทําให้สินค้าจากประเทศจีนเข้ามาทดแทน ทําให้ไทยสูญเสียโอกาสในการส่งออกสินค้า
  • ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานยังไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร ยังคงกระจุกตัวอยู่ในเมืองขนาดใหญ่
  • ความไม่แน่นอนทางการเมืองและนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ
  • ค่าขนส่งจากชายแดนไทยมีอัตราสูง บางครั้งมีการเรียกเก็บค่าคุ้มครอง
  • มีการกําหนดมาตรการทางการค้า เพื่อจํากัดปริมาณนําเข้าและเพื่อแก้ปัญหาการขาดดุลการค้า
  • นักลงทุนจากทั่วโลกสนใจลงทุนในเมียนมา ทําให้มีคู่แข่งจํานวนมาก

  • บทบาท ความสัมพันธ์ ไทยกับนาโต้ nato.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความสัมพันธ์ไทย-นาโต้ นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ณ ขณะนั้น) ได้มีการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แล...

  • องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ nato shining consult.png
    NATO คือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือย่อมาจากNorth Atlantic Treaty Organisation เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ เกิดขึ้นในช่วง...

  • soft power shining consult jiratha aganidat อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Soft Power มีที่มาจากนายโจเซฟ เอส (Joseph S. Nye) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ของวิทยาลัยการปกครองเคเนดี้ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ให้นิยามว่า อำนาจ หม...

  • บทความอาเซียน asean.png
    Cambodia : กัมพูชา Indonesia : อินโดนีเซีย Laos : สปป.ลาว Malaysia : มาเลเซีย Myanmar : เมียนมา หรือ พม่า Negara Brunei Darussalam: เนอการาบรูไน ดารุซซาลาม Philippines : ฟิลิปปินส์...

  • asean ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน ของกลุ่มประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บูรไนดารุสซาลา...

  • thailand biennale chiangrai 2023 Jiratha Aganidat shining consult.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศไทยเราได้ก่อตั้งมูลนิธิบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ (บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ : Bangkok Art Biennale)นับเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน ที่มีความสามารถ...

  • ไปเที่ยวก่อนไปลงทุน asean วัฒนธรรมอาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศที่นิ่ง ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวไปในทางบวกสักเท่าไร ทำให้หลายคนมองถึงการค้ากับคนนอกประเทศม...

  • study business culter asean วัฒนธรรมอาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมอาเซียน ทำให้มีหลายคนอยากศึกษาวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ ติดต่อได้คล่อง ไปเที่ยวได้สนุก ปรับตัวเข้ากับผู้คนประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่พอได้ล...

  • คำนำหน้าชื่อประเทศ อาเซียน asia asean อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เคยถามหลายคนว่า ประเทศไทย ชื่อจริง ๆ ตามหลักการปกครอง ชื่ออะไร ก็มีหลายคนมองหน้าว่าเป็นการถามกวน ๆ หรือไม่ แต่ก็ตั้งใจถามจริงทุกครั้ง คำตอบที่ได้...

  • เตรียมตัวก่อนไปดูงานต่างประเทศ study tour project อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต มักมีคนกล่าวกันว่า การไปดูงานในต่างประเทศนั้น ก็แค่พากันไปเที่ยว หากเป็นภาครัฐ ก็อาจถูกมองว่า ผู้ที่เดินทางมักมีความต้องประสงค์ที่จะเพิ่มเติมความรู้คว...

  • กำเนิดอาเซียน association of south east asian nations อาจารย์จิรฐา shining consult .jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต AECเป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations :ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุ...

  • asean charter กฎบัตรอาเซียน  อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กฎบัตรอาเซียนเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญ ของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอ...

  • myanmar ข้อมูลเมียนมา คนพม่า อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศพม่า หรือ Myanmar มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ Republic of the Union of Myanmar เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใ...

  • myanmar-เมียนมา-ประเทศพม่า-คนพม่า-shiningconsult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ภายหลังการประชุมรัฐสภาเมียนมาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 เมียนมาได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปัจจุบันมีรูปแบบการ...

  • laos ประเทศลาว อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว พื้นที่: 236,800 ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) และ 2 เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวี...

  • vietnam เวียดนาม อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต พื้นที่ : พื้นที่ประมาณ327,500ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้1,650กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกา...

  • Kingdom of Cambodia ราชอาณาจักรกัมพูชา อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia) พื้นที่ :181,035 ตร.กม. (พื้นดิน 176,525 ตร.กม. พื้นน้ำ 4,520 ตร.กม.) อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดประเทศไทย (เขต จ.อุบลร...

  • cambodia สายน้ำ กัมพูชา โตนเลสาป อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เทศกาลน้ำ ประเพณีสำคัญของชาวกัมพูชา “เมืองแห่งสายน้ำ” ในอาเซียน กัมพูชาถือว่ามีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่า”โตนเลสาบ” อยู่กลางประเทศ หล่อหลอมเล...

  • cambodia phnom penh น่ารู้ ประเทศกัมพูชา อาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. Royal Palace (พระราชวัง) 2. Cambodia National Museum (พิพิธภัณฑ์) 3. Tuol Sleng Genocide Museum (ตวล สเลง-ย้อนรอยคุกที่ไม่มีประตูออก) 4. Choeung Ek...

  • cambodia ประเทศกัมพูชา อาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult copy.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. มีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP อย่างสม่ำเสมอ เฉลี่ย 7.0% 2. อัตราการขยายตัวของชนชั้นกลาง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเที่ยบกับใน CLMV 3. ขนาดประเทศเล็...

  • Special-Economic-Zones.jpg
    เรียบเรียงข้อมูลโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะซึ่งได้รับมอบอำนาจการ บริหารบางประการเพื่อให้สามารถปกครองและ จัดการพื้นที่นั้นๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สัง...

  • Republic of Armenia church of amberd อาร์เมเนีย อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Celebrating the 28thAnniversary of Independence of Republic of Armenia ฉลองครบรอบ 28 ปี วันชาติของสาธารณรัฐอาร์เมเนีย (22 กันยายน 2562) 22 กันยาย...

  • aec blue print 2025 asean economic community blueprint 2025 shining consult อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต.png
    เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต โครงสร้างหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2025 ตามที่ระบุใน ASEAN Economic Community Blueprint 2025 นั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะประกอบไปด้วย 5 อ...