สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว
พื้นที่ : 236,800 ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) และ 2 เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์ และเขตพิเศษไซสมบูน)
อาณาเขต:
- ทิศเหนือติดกับประเทศจีน(423 กิโลเมตร)
- ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม(2,130 กิโลเมตร)
- ทิศใต้ติดกับประเทศไทย(1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
- ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ลักษณะภูมิประเทศ:
พื้นที่ประมาณ 7,000 ตร.กม. เป็นภูเขาและที่ราบสูง ประมาณ 9 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยพื้นที่ราบจะอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก ด้านตะวันออกเป็นแนวภูเขายาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ จากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ สปป.ลาว มีแม่น้ำที่เกิดจากแนวภูเขาด้านทิศตะวันออกเป็นจำนวนมาก แม่น้ำเหล่านี้จะไหลผ่านป่าเขาลำเนาไพร ลงมาสู่พื้นที่ราบทางทิศตะวันตก และไหลลงแม่น้ำหลัก สำคัญที่สุดซึ่งถือเป็นหัวใจหล่อเลี้ยงประเทศ คือ แม่น้ำโขง(ไหลผ่านลาว 1,865 กม.)
ภูมิอากาศ :
อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา ต่ำสุด 10 องศาปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80 %
เมืองหลวง :
นครเวียงจันทน์ (เป็นเขตเมืองหลวงเหมือน กทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)
เมืองสำคัญ :
- นครหลวงเวียงจันทร์ เป็นศูนย์กลางด้านการเมืองวัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ที่ยังไม่เป็น สปป. ลาว
- แขวงหลวงพระบาง เป็นดินแดนของการอนุรักษ์โบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่งดงาม ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ
- แขวงสะหวันนะเขต เป็นแขวงใหญ่อันดับสองของ สปป.ลาว และเป็นเมืองคู่แฝดกับจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย โดยมีสะพานมิตรภาพ 2 เป็นสะพานเชื่อม ทั้ง 2 เมืองเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 9 สู่ดองฮา และ ดานัง ในเวียดนาม ด้วยเหตุนี้แขวงสะหวันนะเขตจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการค้า และรวมไปถึงสินค้าผ่านแดน จากพม่า (เมืองเมาะลำไย) สู่เวียดนาม (ดานัง) 1,450 กิโลเมตร อันเป็นเส้นทางคมนาคม East-West Economic Corridor หรือ EWEC ภายใต้ กรอบพัฒนาเศรษฐกิจสังคม 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS ซึ่งเป็นทางบกที่สั้นที่สุดที่สามารถเชื่อมทะเลอันดามัน กับ ทะเลจีนใต้
ทรัพยากรธรรมชาติ : ทรัพยากรป่าไม้
มีป่าร้อยละ 47 ของพื้นที่ประเทศ ไม้เศรษฐกิจที่สำคัญคือ ไม้เนื้อแข็ง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้สน ไม้สัก ไม้มะฮอกกานี เป็นต้น สปป.ลาวจัดเป็นพื้นที่มีผืนป่าอุมสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
ทรัพยากรแร่ธาตุ:
แร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ ทองคำ เงิน สังกะสี ดีบุก ถ่านหิน ยิปซัม กราไฟท์ ดินเหนียว
ประชากร : 6 ล้านคน
เชื้อชาติ : ชนเผ่า 68 ชนเผ่า ประกอบด้วยลาวเทิง (low Mountains) ร้อยละ 22 ลาวสูง (High Mountains) รวมชาวม้งและชาวเย้า ร้อยละ 10 ลาวลุ่ม (Lowland) ร้อยละ 67 นอกจากนั้นมีชาวจีน และเวียดนาม ร้อยละ 1
ศาสนา : พุทธร้อยละ 85 บูชาผีสาง/เทวดาและอื่นๆ ร้อยละ15
ภาษาประจำชาติ และภาษาราชการ : ภาษาลาว
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส
เวลา : เท่ากับประเทศไทย
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมประชาธิปไตย โดยพรรคการเมืองเดียวคือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว (The Lao People’s Revolutionary Party: LPRP) มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มการปกครองในระบบสังคมนิยม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2518
ประธานาธิบดี : นายบุนยัง วอละจิด
นายกรัฐมนตรี : นายทองลุน สีสุลิด
สกุลเงิน : กีบ (Kip) แต่มีความนิยมในการใช้เงินสกุลดอลล่าสหรัฐเป็นหลัก
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความสัมพันธ์ไทย-นาโต้ นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ณ ขณะนั้น) ได้มีการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แล...
-
NATO คือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือย่อมาจากNorth Atlantic Treaty Organisation เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ เกิดขึ้นในช่วง...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Soft Power มีที่มาจากนายโจเซฟ เอส (Joseph S. Nye) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ของวิทยาลัยการปกครองเคเนดี้ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ให้นิยามว่า อำนาจ หม...
-
Cambodia : กัมพูชา Indonesia : อินโดนีเซีย Laos : สปป.ลาว Malaysia : มาเลเซีย Myanmar : เมียนมา หรือ พม่า Negara Brunei Darussalam: เนอการาบรูไน ดารุซซาลาม Philippines : ฟิลิปปินส์...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน ของกลุ่มประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บูรไนดารุสซาลา...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศไทยเราได้ก่อตั้งมูลนิธิบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ (บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ : Bangkok Art Biennale)นับเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน ที่มีความสามารถ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศที่นิ่ง ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวไปในทางบวกสักเท่าไร ทำให้หลายคนมองถึงการค้ากับคนนอกประเทศม...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมอาเซียน ทำให้มีหลายคนอยากศึกษาวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ ติดต่อได้คล่อง ไปเที่ยวได้สนุก ปรับตัวเข้ากับผู้คนประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่พอได้ล...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เคยถามหลายคนว่า ประเทศไทย ชื่อจริง ๆ ตามหลักการปกครอง ชื่ออะไร ก็มีหลายคนมองหน้าว่าเป็นการถามกวน ๆ หรือไม่ แต่ก็ตั้งใจถามจริงทุกครั้ง คำตอบที่ได้...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต มักมีคนกล่าวกันว่า การไปดูงานในต่างประเทศนั้น ก็แค่พากันไปเที่ยว หากเป็นภาครัฐ ก็อาจถูกมองว่า ผู้ที่เดินทางมักมีความต้องประสงค์ที่จะเพิ่มเติมความรู้คว...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต AECเป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations :ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กฎบัตรอาเซียนเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญ ของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศพม่า หรือ Myanmar มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ Republic of the Union of Myanmar เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ก่อนที่มาเป็นชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ เมียนมา เดิมคือชื่อ พม่า หรือ Burma มีการเปลี่ยนชื่อประเทศในครั้งนี้ รัฐบาลเมียนมา ต้อง...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ภายหลังการประชุมรัฐสภาเมียนมาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 เมียนมาได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปัจจุบันมีรูปแบบการ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต พื้นที่ : พื้นที่ประมาณ327,500ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้1,650กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกา...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia) พื้นที่ :181,035 ตร.กม. (พื้นดิน 176,525 ตร.กม. พื้นน้ำ 4,520 ตร.กม.) อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดประเทศไทย (เขต จ.อุบลร...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เทศกาลน้ำ ประเพณีสำคัญของชาวกัมพูชา “เมืองแห่งสายน้ำ” ในอาเซียน กัมพูชาถือว่ามีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่า”โตนเลสาบ” อยู่กลางประเทศ หล่อหลอมเล...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. Royal Palace (พระราชวัง) 2. Cambodia National Museum (พิพิธภัณฑ์) 3. Tuol Sleng Genocide Museum (ตวล สเลง-ย้อนรอยคุกที่ไม่มีประตูออก) 4. Choeung Ek...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. มีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP อย่างสม่ำเสมอ เฉลี่ย 7.0% 2. อัตราการขยายตัวของชนชั้นกลาง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเที่ยบกับใน CLMV 3. ขนาดประเทศเล็...
-
เรียบเรียงข้อมูลโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะซึ่งได้รับมอบอำนาจการ บริหารบางประการเพื่อให้สามารถปกครองและ จัดการพื้นที่นั้นๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สัง...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Celebrating the 28thAnniversary of Independence of Republic of Armenia ฉลองครบรอบ 28 ปี วันชาติของสาธารณรัฐอาร์เมเนีย (22 กันยายน 2562) 22 กันยาย...
-
เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต โครงสร้างหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2025 ตามที่ระบุใน ASEAN Economic Community Blueprint 2025 นั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะประกอบไปด้วย 5 อ...