Our Work
Tags: หลักสูตรอบรม, งานให้คำปรึกษา, โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ, ผลงาน, work experience, our work, ประสบการณ์ทำงาน, ประสบการณ์งานให้คำปรึกษา
Digital Business
การปรับตัวและใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ก้าวสู่ Digital Business และการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ
การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การปรับตัวและใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ก้าวสู่ Digital Business และการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการภาคเหนือตอนบน" โครงการยกระดับการประกอบการ SME ภาคเหนือตอนบน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation for Upper Northern SME)
1. การตลาดในยุค
Digital
Business
2. Disruption
ทำให้การแข่งขันทางธุรกิจเปลี่ยนไป
3. รูปแบบการแข่งขันทางธุรกิจ
(Platform
Business) ในยุค Digital Business
4. พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปอย่างไร
ในยุค
Digital Business
5. การรับมือกับการถูก
Disrupt ด้วยการปรับตัวโดยทำ Digital Transformation
6. การใช้เครื่องมือดิจิทัลอย่างไร
ให้เหมาะสมกับตลาดสมัยใหม่
หมายเหตุ บรรยายเพื่อการเรียนรู้และเข้าใจ Digital Transformation พร้อมกรณีศึกษา
Digital Transformation
Digital Transformation for Upper Northern SME
ปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจตามโครงการยกระดับการประกอบการ SME ภาคเหนือตอนบน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางธุรกิจในปัจจุบัน ทำให้สถานประกอบการหลายแห่งต้องปิดตัวลงหรือประสบปัญหาทางธุรกิจอย่างรุนแรง (Disruption) เนื่องจากไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความแตกต่างไปจากช่วงที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก หากสถานประกอบการขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนองค์กรเพื่อให้สามารถปรับกระบวนการประกอบธุรกิจให้มีความทันสมัย และสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค ก็จะทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรง จนกระทั่งทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้ และส่งผลกระทบให้เกิดการปิดกิจการ และเกิดการเลิกจ้างแรงงานในสถานประกอบการ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมตามมา
โครงการนี้ได้ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก ณ สถานประกอบการ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลในการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางธุรกิจตามที่ได้วินิจฉัยไว้ อาทิ ด้านกระบวนการผลิต (Digital Processing), ด้านการตลาด (Digital Marketing) หรือ ด้านการบริหารจัดการ (Digital Management)
Compliance
การปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตราฐานข้อบังคับ
In general, compliance means conforming to a rule, such as a specification, policy, standard or law. Compliance has traditionally been explained by reference to the deterrence theory, according to which punishing a behavior will decrease the violations both by the wrongdoer and by others.
Compliance คือ แนวทางปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลให้เป็นไปตามข้อปฏิบัติ กฎระเรียบข้อบังคับ มาตรฐาน ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้องค์กรมีแนวทางปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน สร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า คู่ค้า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง องค์กรจึงมีความนิยมจัดทำ Compliance ขึ้นอย่างมีขั้นตอน มีการตรวจสอบการปฏิบัติงาน และให้เป็นไปตามนโยบายที่องค์กรกำหนด ซึ่งแนวทางปฏิบัติมักพิจารณาจาก สิ่งแวดล้อมภายนอก ได้แก่ กฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และข้อบังคับต่าง ๆ และสิ่งแวดล้อมภายในได้แก่ นโยบาย มาตรฐานในอุตสาหกรรมขององค์กรนั้น
Compliance ไม่ใช่เพียงแค่การปฏิบัติตามกฎระเบียบ...เป็นการสร้างวัฒนธรรมองค์กร การสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้นเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ปัญหาในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร มีตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์และยุทธวิธีการปฏิบัติตามข้อกำหนด ไม่ใช่แค่การปฏิบัติให้เกิดวัฒนธรรมเดียวกัน เท่านั้น แต่ยังเป็นการทำให้องค์กรมีความยืดหยุ่นสูง และ ประหยัดทั้งเวลาและเงิน
How to make positive vibes in corporate culture?
การสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบวก
ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker) กูรูด้านการบริหารระดับโลก บิดาแห่งการบริหารจัดการ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “Culture eats strategy as breakfast.” แปลตรงตัวว่า “วัฒนธรรมกินกลยุทธ์เป็นอาหารเช้า” เป็นสำนวนขำขันที่ได้ยินกัน ถ้าเราจะตีความก็หมายถึงไม่ว่ากลยุทธ์จะดีเลิศเพียงใดก็ตาม คนและการดำเนินงานภายในองค์กรไม่หยิบขึ้นมาดำเนินการ หรือปฏิบัติ กลยุทธ์ก็กลายเป็นกลยุทธ์ถูกกลืนหายไป นั่นคือ ไม่ถูกนำมาทำให้เกิดผลตามที่จัดทำไว้ ความส่งผลเสียหาย เช่น อาจเป็นการเสียเวลา เสียงบประมาณ และร้ายแรงกว่านั้นคือการไม่บรรลุผลสำเร็จตามที่วางไว้ ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมองค์กรจึงต้อง สร้างและรักษา ดำรงไว้ในเชิงบวกด้วยเช่นกัน
การสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบวก มีองค์ประกบอด้วยกัน 6 ประการด้วยกันคือ
1. วิสัยทัศน์ (Vision)
2. ค่านิยม (Values)
3. การปฏิบัติ (Practices)
4. ผู้คน หรือ พนักงาน (People)
5. การเล่าเรื่อง (Narrative)
6. สถานที่ (Place)
วัฒนธรรมองค์กร ก็คือ Lifestyle หรือ ชีวิตความเป็นอยู่ร่วมกันของคนในองค์กรนั้น การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเชิงบวกย่อมไม่ได้ทำได้ในวันเดียว แต่สามารถอาศัยหลักการ กระบวนการ กลยุทธ์ที่แยบยล
เจาะลึกธุรกิจด้วยเครื่องมือการตลาด
การเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการส่งออก ด้วยเครื่องมือด้านการตลาด
สัมมนาเชิงปฎิบัติการ เพื่อเตรียมตัวเป็นผู้ประกอบการส่งออก และนำเสนอสินค้า
เจาะลึกธุรกิจด้วยตัวเอง สร้างความชัดเจนและความเข้าในในกลุ่มลูกค้าของลูกค้าในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง
เจาะลึกธุรกิจตัวเองด้วยเครื่องมือด้านการตลาด
◉ การใช้เครื่องมือ Business Model Canvas
◉ การวิจัยตลาดและการทำ Branding ในยุค New Normal
◉ การนำเสนอสินค้าและบริการในช่องทางออนไลน์
การกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ชัดเจอ (ลูกค้าและลูกค้าของลูกค้า)
◉ เรียนรู้ลูกค้าทางธุรกิจ เช่น (Exporter, Importer, Whole Seller, Retailer, Distributor จนถึง End User)
◉ การออกแบบคุณค่าเพื่อการส่งมอบ (Value Proposition Design)
◉ การกำหนดลักษณะของลูกค้าที่ต้องการ (Persona)
◉ การสร้าง Customer Journer เพื่อการหาลูกค้าได้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย