3 Soft Skill สำคัญเสริมทักษะการให้คำปรึกษา ของที่ปรึกษาทางธุรกิจ
3 Soft Skill สำคัญเสริมทักษะการให้คำปรึกษา ของที่ปรึกษาทางธุรกิจ
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต
ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาจากภายนอกองค์กรนั้นจะมีความรู้ ความชำนาญ เชี่ยวชาญในประเด็นหรือเรื่องราวที่ได้ผ่านประสบการณ์มา พร้อมทั้งมีการ Re-skill เพื่อเสริมสร้างความเชี่ยวชาญอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ความรู้เกี่ยวกับเทรนด์ที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมนั้น ๆ ความเข้าใจในพฤติกรรมองค์กรสมัยใหม่ ความรู้ทางเทคโนโลยี ความรู้เรื่องมาตรฐาน ความเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมมนาย์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในโลกปัจจุบัน การฝึกอบรมและพัฒนา ความรู้ทางธุรกิจและการจัดการ เป็นต้น เมื่อเจอปัญหาในสิ่งที่ชำนาญ ก็มักจะคลี่คลายปัญหา หรือเห็นทางออกได้ไม่ยาก ทำให้องค์กรลดทอนเวลาในการจัดการลงไป จะเห็นได้ว่า ทักษะของที่ปรึกษามีความสำคัญหรือเป็นตัวเลือกอย่างหนึ่งสำหรับองค์กรที่เกิด Paint point แล้วอยากมีมุมมองจากภายนอกเข้ามาช่วยแก้ใข ดังนั้น นอกจากความรู้ ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญ ที่จะต้องมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้วนั้น ที่ปรึกษาจะต้องมี 3 Soft skill สำคัญคือ
1. Problem Solving Skill หรือ ทักษะการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนด้วยวิธีการค้นหาสาเหตุจากต้นตอของปัญหา เข้าใจระดับของปัญหา โครงสร้างของปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา จะเห็นได้ว่าที่ปรึกษาอาจมี เครื่องมือ (Tool) หรือ สามารถอธิบาย Diagram เพื่อเห็นโครงสร้างของปัญหา
2. Analytical Skill หรือ ทักษะการวิเคราะห์ จำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่าง ๆ จากปัญหาหรือข้อมูล ที่ทำให้เห็นปัญหาหลัก ปัญหารอง ผลกระทบที่เกิดขึ้น ทักษะนี้สำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกดิจิทัล เพราะที่ปรึกษาที่เชียวชาญอาจเห็นสิ่งที่เป็นสาเหตุอย่างที่คนอื่นคิดไม่ถึง
3. Communication Skill หรือ ทักษะการสื่อสาร หรือ การสร้างปฏิสัมพันธ์ ทักษะการสื่อสารของที่ปรึกษานั้นอาจไม่ใช่คนพูดเก่งหรือพูดมาก แต่เป็นสิ่งที่จะต้องสร้างความเชื่อถือ หรือ เชื่อมั่น (Build Trust) เมื่อเกิดความเชื่อถือแล้วความไว้วางใจจะตามมา เพราะเป็นที่ต้องกล่าวถึงความสำคัญในปัญหาและแนวทางแก้ไข (Create the possible) การกล่าวถึงประเด็นสำคัญอย่างชัดเจน ตรงไปตรงมาอาจส่งผลให้เกิดการกระทำ (Get into action) แต่ก็ต้องระวังเรื่องถ้อยคำอ่อนไหวที่อาจกระทบต่อลูกค้าอีกด้วย
นอกจาก 3 Soft skill ข้างต้นแล้ว ที่ปรึกษายังมีตระหนักในเรื่องการรักษาชื่อเสียง (Reputation) เราจะเห็นว่าที่ปรึกษาบางท่านอาจใช้เรื่อง Personal Branding มาการันตีภาพลักษณ์ส่วนบุคคล นับเป็นการรักษาคุณค่าของงานบริการที่มีความเป็นมืออาชีพ (Professional) มีจรรยาบรรณ (Morality) ความรับผิดชอบ (Accountability & Responsibility) มีความตรงต่อหน้าที่ (Integrity) ดังนั้นที่ปรึกษาที่ดีให้คำปรึกษาด้วยความระมัดระวัง ภายใต้ข้อมูลที่เป็นจริง ถูกต้องและมีเหตุผล เก็บรักษาข้อมูล เก็บความลับทางการค้า ความลับทางเทคนิค ได้อย่างเต็มกำลัง
-
การปฏิบัติตามกฎระเบียบมาตราฐานข้อบังคับ เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต In general, compliance means conforming to a rule, such as a specification, policy, standard or law. Complianc...
-
14 คุณลักษณะของการเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ในความเป็นผู้นำอาจมีคำกล่าวว่า ผู้นำจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ มีความคิดนอกกรอบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ห...