สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว
พื้นที่ : 236,800 ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) และ 2 เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวียงจันทน์ และเขตพิเศษไซสมบูน)
อาณาเขต:
- ทิศเหนือติดกับประเทศจีน(423 กิโลเมตร)
- ทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม(2,130 กิโลเมตร)
- ทิศใต้ติดกับประเทศไทย(1,754 กิโลเมตร) และประเทศกัมพูชา (541 กิโลเมตร)
- ทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย (1,754 กิโลเมตร) และประเทศพม่า (235 กิโลเมตร)
ลักษณะภูมิประเทศ:
พื้นที่ประมาณ 7,000 ตร.กม. เป็นภูเขาและที่ราบสูง ประมาณ 9 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งหมด โดยพื้นที่ราบจะอยู่ทางฝั่งทิศตะวันตก ด้านตะวันออกเป็นแนวภูเขายาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ จากภูมิประเทศเช่นนี้ทำให้ สปป.ลาว มีแม่น้ำที่เกิดจากแนวภูเขาด้านทิศตะวันออกเป็นจำนวนมาก แม่น้ำเหล่านี้จะไหลผ่านป่าเขาลำเนาไพร ลงมาสู่พื้นที่ราบทางทิศตะวันตก และไหลลงแม่น้ำหลัก สำคัญที่สุดซึ่งถือเป็นหัวใจหล่อเลี้ยงประเทศ คือ แม่น้ำโขง(ไหลผ่านลาว 1,865 กม.)
ภูมิอากาศ :
อุณหภูมิเฉลี่ย 29-33 องศา ต่ำสุด 10 องศาปริมาณฝนตกเฉลี่ย 1,715 มม.ต่อปี ความชื้น 70-80 %
เมืองหลวง :
นครเวียงจันทน์ (เป็นเขตเมืองหลวงเหมือน กทม. ส่วนแขวงเวียงจันทน์เป็นอีกแขวงหนึ่งที่อยู่ติดกับนครหลวงเวียงจันทน์)
เมืองสำคัญ :
- นครหลวงเวียงจันทร์ เป็นศูนย์กลางด้านการเมืองวัฒนธรรม และเศรษฐกิจของประเทศตั้งแต่ที่ยังไม่เป็น สปป. ลาว
- แขวงหลวงพระบาง เป็นดินแดนของการอนุรักษ์โบราณสถาน และสิ่งปลูกสร้างสำคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่งดงาม ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของประเทศ
- แขวงสะหวันนะเขต เป็นแขวงใหญ่อันดับสองของ สปป.ลาว และเป็นเมืองคู่แฝดกับจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย โดยมีสะพานมิตรภาพ 2 เป็นสะพานเชื่อม ทั้ง 2 เมืองเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 9 สู่ดองฮา และ ดานัง ในเวียดนาม ด้วยเหตุนี้แขวงสะหวันนะเขตจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญด้านการค้า และรวมไปถึงสินค้าผ่านแดน จากพม่า (เมืองเมาะลำไย) สู่เวียดนาม (ดานัง) 1,450 กิโลเมตร อันเป็นเส้นทางคมนาคม East-West Economic Corridor หรือ EWEC ภายใต้ กรอบพัฒนาเศรษฐกิจสังคม 6 ประเทศลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS ซึ่งเป็นทางบกที่สั้นที่สุดที่สามารถเชื่อมทะเลอันดามัน กับ ทะเลจีนใต้
ทรัพยากรธรรมชาติ : ทรัพยากรป่าไม้
มีป่าร้อยละ 47 ของพื้นที่ประเทศ ไม้เศรษฐกิจที่สำคัญคือ ไม้เนื้อแข็ง ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้สน ไม้สัก ไม้มะฮอกกานี เป็นต้น สปป.ลาวจัดเป็นพื้นที่มีผืนป่าอุมสมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
ทรัพยากรแร่ธาตุ:
แร่ธาตุสำคัญ ได้แก่ ทองคำ เงิน สังกะสี ดีบุก ถ่านหิน ยิปซัม กราไฟท์ ดินเหนียว
ประชากร : 6 ล้านคน
เชื้อชาติ : ชนเผ่า 68 ชนเผ่า ประกอบด้วยลาวเทิง (low Mountains) ร้อยละ 22 ลาวสูง (High Mountains) รวมชาวม้งและชาวเย้า ร้อยละ 10 ลาวลุ่ม (Lowland) ร้อยละ 67 นอกจากนั้นมีชาวจีน และเวียดนาม ร้อยละ 1
ศาสนา : พุทธร้อยละ 85 บูชาผีสาง/เทวดาและอื่นๆ ร้อยละ15
ภาษาประจำชาติ และภาษาราชการ : ภาษาลาว
ภาษาที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจคือ ภาษาอังกฤษ และฝรั่งเศส
เวลา : เท่ากับประเทศไทย
ระบบการปกครอง : สังคมนิยมประชาธิปไตย โดยพรรคการเมืองเดียวคือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว (The Lao People’s Revolutionary Party: LPRP) มีอำนาจสูงสุดตั้งแต่ลาวเริ่มการปกครองในระบบสังคมนิยม เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2518
ประธานาธิบดี : นายบุนยัง วอละจิด
นายกรัฐมนตรี : นายทองลุน สีสุลิด
สกุลเงิน : กีบ (Kip) แต่มีความนิยมในการใช้เงินสกุลดอลล่าสหรัฐเป็นหลัก
อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต
ตุลาคม 2560