กระแสประชาคมอาเซียน ทำให้มีหลายคนอยากศึกษาวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ ติดต่อได้คล่อง ไปเที่ยวได้สนุก ปรับตัวเข้ากับผู้คนประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่พอได้ลงมือก็เกิดคำถามว่า แล้ววัฒนธรรมคืออะไร แล้วต้องรู้อะไรบ้าง ตอบแบบง่าย ๆ ได้ว่า วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิต หรือ “Way of life” ตั้งแต่อดีตที่สะท้อนความเป็นจริงในปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นจากทั้งเหตุการณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งที่เกิดขึ้นธรรมชาติในเขตภูมิศาสตร์ ที่ส่งผลให้ผู้คนมีวิถีชีวิตทีแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สิ่งที่ต้องเรียนรู้มีหลากหลาย สรุปได้ 4 ช่วงการเรียนรู้
- เริ่มทำความรู้จัก
- ชื่อประเทศ ที่เป็นชื่อเต็ม ไม่ใช่แค่เรียกเล่น ๆ เพราะจะทำให้เราเข้าใจการปกครองของประเทศนั้น
- ที่ตั้งของประเทศ และเวลาตามเวลามาตรฐานที่ใช้ในการบอกเวลาทั่วโลก
- ช่วงเวลาสำคัญในประวัติศาสตร์
- รู้เรื่องภาพรวมของประเทศ
- รูปแบบการปกครองและรูปแบบทางการเมือง
- การการทุจริตและดัชนีการรับรู้ในเรื่องการทุจริต
- นโยบายทางเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโต
- ทรัพยากรหลัก
- เงินตรา และการแลกเปลี่ยน
- ดัชนีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
- ความเอื้ออำนวยในกฎหมายทางการค้า การลงทุน ภาษี
- สิทธิพิเศษทางการค้า
- โครงสร้างพื้นฐาน (ระบบน้ำ ไฟ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต)
- รู้จักผู้คนขอประเทศนั้น
- ชื่อ-นามสกุล ใช้หลักการอะไร
- สัดส่วนเชื้อชาติของผู้คนในประเทศ
- ภาษาที่นิยมใช้
- ศาสนา และความเชื่อของผู้คนในประเทศ
- วันทำงาน วันหยุดสำคัญ
- ความนิยมในการแต่งกายไปทำงาน
- ความนิยมในการแต่งงานไปงาน เทศกาลสำคัญ
- ความนิยมในการแต่งกายนอกเวลาทำงาน
- การแนะนำตัว และมารยาทในการแนะนำตัว
- ธรรมเนียมนิยมในการประชุม และการใช้นามบัตร
- ความเป็นส่วนตัว พื้นที่ส่วนตัว
- ความกล้าและความขี้อาย
- สิ่งที่ซึ่งแสดงถึงความมีหน้าตาในสังคม
- รู้จักการดำเนินชีวิต
- การตั้งบ้านเรือน
- ความนิยมใน ตลาด ห้าง ร้านค้าขนาดเล็ก
- การเรียน โรงเรียน เวลาเลิกเรียน
- ยานพาหนะที่เป็นที่นิยม
- วันหยุดและวันสำคัญ
- เทศกาลสำคัญ
- สถานที่สำคัญ
- คนสำคัญ คนดัง วีรบุรุษ นักกีฬาคนสำคัญ
- อาหารและเครื่องดื่มที่โดดเด่น
- การแบ่งเวลาและการใช้ชีวิตในเมือง และชนบท
- หัวข้อสนทนาที่เป็นที่นิยม
- เรื่องขำขัน และอารมณ์ขันของผู้คน
- การให้ของขวัญ
- การเข้าร่วมงานสำคัญ
พอต้องศึกษาเข้าจริง รู้สึกว่า “ทำไมต้องรู้มากมาย” คงจะอ่านกันแทบไม่ไหว จะมีใครเขียนเรื่องราวได้ขนาดนั้น หากเราคิดว่ายาก ก็ดูจะยากไปหมด แต่ถ้าเราเริ่มสักเรื่องเล็ก ๆ เรื่องหนึ่งที่เราสนใจ หรือเริ่มจากสิ่งที่เราชอบ เช่น คนในประเทศนี้ชอบเที่ยวที่ไหนกัน ใครเป็นดาราดัง แล้วก็เจาะประเด็นต่อไป ก็จะทำให้มีกำลังใจในการฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศที่อยู่ในความสนใจของเราได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้าใจกัน ก็ไปเที่ยวสนุก ติดต่องานก็ง่าย มีอะไรดีดีอีกเยอะ ถ้าคนเราเข้าใจกัน
จิรฐา อัคนิทัต