Consultant

เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต

สมัยก่อนเราอาจเคยได้ยินคำว่า “กุนซือ” ในกิจการของคนจีน หรือผู้มีอำนาจ ที่จะจัดหาคนที่ช่วยชี้แนะให้กิจการ หรือภารกิจนั้นปลอดจากเรื่องราวที่เป็นความเสี่ยง กุนซือในสมัยนี้เราใช้คำว่า “ที่ปรึกษา” มากขึ้น และลดคำว่ากุนซือลงไปด้วยความเปลี่ยนแปลงของการใช้ภาษาที่เปลี่ยนไป คำจำกัดความของที่ปรึกษา ก็คือ “ผู้เชี่ยวชาญ” หรือ Expert ดังนั้นงานที่ปรึกษาคือ ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) ที่ได้รับการร้องขอจากผู้ขอรับบริการให้ช่วยให้คำแนะนำหรือความคิดเห็นทางวิชาชีพหรือทางเทคนิค ที่ผู้รับบริการต้องการพึ่งพาเพื่อทำความเข้าใจปัญหาและนำเสนอโซลูชั่น (Solution) หรือแนวทางแก้ไขตามความเชี่ยวชาญของที่ปรึกษานั้น เพื่อแลกกับค่าตอบแทนตามสัญญาการว่างจ้าง  

ความนิยมในอุตสาหกรรมที่ปรึกษาที่เป็นสากล นั้น เริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ด้วยการก่อตั้งองค์กรที่ปรึกษาสมัยใหม่แห่งแรกของโลก หรือที่เรียกว่าบริษัทที่ปรึกษาทางธุรกิจ ในยุคแรก ๆ ของอุตสาหกรรมการให้คำปรึกษา เริ่มต้นในสหรัฐอเมริกาและต่อมาได้ข้ามไปยังยุโรปและส่วนอื่น ๆ ของโลก ที่ปรึกษากลุ่มแรก ๆ มุ่งเน้นบริการให้คำปรึกษาของตนเป็นหลักในการแก้ปัญหาทางเทคนิคและการเงิน ปัจจุบัน มีบริษัทที่ปรึกษาเกิดขึ้นมากมาย

ความเชี่ยวชาญอาจได้มาจากความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ผนวกกับการศึกษาเพิ่มเติมอย่างมีหลักการ โดยการศึกษาจากแหล่งความรู้ที่เข้าถึงได้ (Knowledge base) หรือกรณีศึกษาท (Case study) ซึ่งอาจเป็นกรณีศึกษาที่ผ่านประสบการณ์ การแลกเปลี่ยน หรือ เป็นกรณีศึกษาที่มีอยู่ทั่วไป  บทสรุปเป็นวิธีปฏิบัติ (Best practice) หรือผลลัพธ์สำเร็จให้กับผู้รับคำปรึกษา (Consultee) จะเห็นได้ว่าที่ปรึกษาเป็นผู้ที่ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่องความเชี่ยวชาญนั้นอยู่เสมอ

ลักษณะงานที่ปรึกษาจะประกอบไปด้วย

   1. การรับฟังปัญหาจากลูกค้า
   2. เตรียมแนวทางแก้ไข (Solution) ให้กับลูกค้า
   3. ดำเนินการวินิจฉัยเกี่ยวกับผลกระทบ
   4. ให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุด
   5. ให้ความช่วยเหลือในขณะที่ดำเนินการ
   6. สร้างความมุ่งมั่นในพันธสัญญาที่จะดำเนินแนวทางร่วมกัน
   7. อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้รับบริการ
   8. ปรับปรุงประสิทธิภาพภายในองค์กรอย่างยั่งยืน

เราจะเห็นได้ว่าการเป็นที่ปรึกษา ไม่ใช่เป็นเพียงการพูดเพื่อการชี้นำหรือให้คำตอบเท่านั้น แต่ที่ปรึกษาจะต้องคอยช่วยเหลือเพื่อทำให้ผู้รับบริการสามารถนำแนวทางนั้นไปปฏิบัติได้ยอย่างต่อเนื่อง

 

Reference

https://coachcentral.com/cindy-turner-insights/the-difference-between-coaching-mentoring-consulting-counselling/

https://www.yourarticlelibrary.com/human-resource-development/training-meaning-definition-and-types-of-training/32374

https://en.wikipedia.org/wiki/Training

https://siamchamnankit.co.th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-training-mentoring-consulting-coaching-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3-84cec798a397

https://www.consultancy.eu/career/what-is-consulting

https://hbr.org/1982/09/consulting-is-more-than-giving-advice