การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ : Business Networking

การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business networking)

เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต

การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เป็นการสร้างสังคมทางธุรกิจประเภทหนึ่ง หรือเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้นักธุรกิจ ได้ทำความรู้จัก และมีเชื่อมต่อความสัมพันธ์ กับคนในระดับตัดสินใจ เช่น หัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือแม้กระทั่งเจ้าของธุรกิจ เพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ทางธุรกิจของกันและกัน โดยสร้างความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน

การสร้างเครือข่ายของธุรกิจ นั้นทำได้ด้วยการเปิดตัวออกไปสู่สังคมที่กว้างขึ้น เช่น งานอีเวนท์ (Event) งานสัมมนา (Seminar) หรือแม้กระทั่งงานที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายโดยตรง เป็นต้น ดังนั้นการเข้าร่วมในสังคมแบบนี้ นับเป็นการทำงานในอีกรูปแบบหนึ่งนอกเหนือจากการทำงานทั่วไปที่เราเข้าใจ การเข้าสังคมแบบนี้จำเป็นจะต้องมีการวางแผน หรือ คิดไว้ล่วงหน้าว่า เราต้องการพบกับใครที่จช่วยส่งเสริมผลประโยชน์ทางธุรกิจของกันและกัน และเปิดโอกาสให้กับตัวเองได้เข้าไปรู้จัก พูดคุย สร้างความน่าเชื่อถือ จนถึงเกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจ และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการนี้อาจเหมาะกับคนที่สามารถออกสังคมได้และปรับตัวได้กับคนที่หลากหลาย

การเริ่มสร้าง Connection นั้น เริ่มจาก

1. เริ่มต้นทำความรู้จักกับคนแปลกหน้า ด้วยการรวบรวมความกล้า หาจังหวะเข้าไปเริ่มต้นทักทายตามมารยาทสังคมนั้น เช่น เป็นรูปแบบไทยก็ต้องมีการไหว้ รูปแบบนานาชาติก็จะมีการจับมือ เป็นต้น ให้นามบัตร จากนั้นก็เริ่มบทสนทนาเรื่องทั่ว ๆ ไป สร้างบรรยากาศให้คู่สนทนาประทับใจ

2. ฝึกจำชื่อคนให้แม่น เมื่อเราได้รับนามบัตร ควรอ่านออกเสียงต่อหน้า เพื่อให้แน่ใจว่าเราออกเสียงถูกต้อง และหากคิดว่ายากและจดจำไม่ได้ ก็อาจขอถ่ายภาพร่วมกันไว้ เพื่อเตือนความทรงจำ  การที่เราจำชื่อได้ และจำงานที่เค้าทำได้ ก็สามารถจะเพิ่มความประทับใจให้คู่สนทนาเห็นว่าเรามีความใส่ใจ และทำให้รู้สึกคุยกันง่ายขึ้น ข้อสำคัญอย่าถามชื้อของเขาซ้ำและบ่อยครั้งจะทำให้รู้สึกว่าราไม่ใส่ใจเขา

3. อย่าขายของอย่างเดียว การเข้าสู่สังคมแบบสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ การสร้างความประทับใจ ความเป็นตัวเอง อัธยาศัย สำคัญมาก เพราะในงานแบบนี้เป็นการเริ่มต้นทำความรู้จัก เราควรจะแนะนำตัว และพูดคุยด้วยเรื่องสบาย ๆ ทั่ว ๆ ไป มีอารมณ์ขันบ้างให้บรรยากาศผ่อนคลายซึ่งไม่ใช่เวลาขายของ

4. เจอคนที่ไม่ใช่เป้าหมาย อย่าปฏิเสธความรู้จัก เพราะแค่รู้จักอาจนำมาซึ่งเป้าหมายได้ ไม่จำเป็นต้องรู้จักกับคนที่อยู่ในแวดวงเดียวกันเท่านั้น เพราะผู้คนที่เรารู้จักอาจแนะนำบอกต่อถึงคนที่เป็นเป้าหมายของเราก็ได้ เช่นเราขายสินค้า แต่พบเจ้าของโรงแรม ซึ่งรู้จักคนหลากหลายเพราะมีลูกค้าของเขาอยู่หลายวงการ หากเราปฏิเสธการทำความรู้จักและไม่สานต่อความสัมพันธ์อันดี อาจกลายเป็นเรื่องที่เราเสียโอกาสข้างหน้า

5. สานต่อความสัมพันธ์ โดยที่เราได้รับนามบัตรที่มีรายละเอียดการติดต่อมาแล้ว หลังงาน เราสามารถติดต่อโดย ส่งอีเมลแนบ company profile ไปให้เพื่อเน้นความสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งมีการติดต่อกันทาง Social network ที่เหมาะสม

การทำ Business Networking นับเป็นกลวิธีที่ชาญฉลาด ธุรกิจจำนวนมากในปัจจุบัน ใช้เครือข่ายเป็นปัจจัยสำคัญในแผนการตลาด  เพราะว่าสามารถช่วยในการพัฒนาความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น เรากับ supplier เป็นต้น  นอกจากนี้ทำให้เรามีสังคมที่กว้างขึ้น มองหาคนที่เราต้องการรู้จักได้ง่ายขึ้น และสามารถไปได้ไกลในการรักษาสัมพันธภาพ ความเป็นมิตร และสร้างสรรค์ผลประโยชน์ทางการค้าร่วมกันได้

ติดต่อสอบถามหลักสูตร/จัดโครงการสร้างเครือข่าย @shiningconsult


  • web บทความ ความรู้ธุรกิจ bcg model Bio Circular Green Economy ESG Model shining consult.png
    BCG Model เป็นเพียงกระแส หรือ ความมุ่งมั่น สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ขณะที่เราเผชิญปัญหาจากสถานการณ์โควิด19 นั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงการระวังร...

  • bcg model คืออะไร ที่มาของ bcg shining consult.png
    BCG Model ความเป็นมา และเป็นไปอย่างมีรูปธรรม เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความเป็นมาBCG Model เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ...

  • web บทความ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก sustainability shining consult.png
    17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs : Sustainable Development Goals) เกิดขึ้นจากการรับรองของสมาชิกสหประชาชาต...

  • การสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กร shining consult.png
    การสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบวก เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker)กูรูด้านการบริหารระดับโลก บิดาแห่งการบริหารจัดการ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “Cu...

  • Difference Between Mentoring Training Coaching Counseling and Consulting shining consult.png
    ความแตกต่างระหว่างMentoring, Training, Coaching, Counseling and Consulting เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ทำไมเราต้องมารู้คำจำกัดความและหน้าที่ของคนเหล่านี้ เพราะในที่สุดก็คือผู้ใช้...

  • shining consult ค่าจ้างที่ปรึกษา 2.png
    5 โมเดลค่าจ้างที่ปรึกษา : คำถามคาใจเมื่ออยากใช้บริการ เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Paint Point อย่างหนึ่งในใจผู้จ้างงานที่ปรึกษา “ความกลัว” เรื่อง “ค่าจ้าง” เพราะในสถานการณ์ทั่วไป...

  • digital business shining consult 2.png
    การปรับตัวและใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ก้าวสู่ Digital Business และการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การปรับตัวและใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ก้า...

  • digital transformation shining consult.png
    การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปล...

  • social business shining consult.png
    Social Business คืออะไร ทำอะไร อย่างไร? เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 4 ธุรกิจนี้ ต่างกันตรงไหน แยกไม่ออก… 1. โอทอป (OTOP)2. วิสาหกิจชุมชน (Small and Micro community Enterprise–SMC...

  • Family business icansell ธุรกิจครอบครัว.png
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต อีกหนึ่งเรื่องเล่าจากที่ปรึกษา หลังจากที่ผู้ประกอบการได้ทำกิจการหลัก เป็นผู้ผลิตสินค้ามาอย่างต่อเนื่อง และอยากได้อาชีพที่คนในครอบครัวมีความรู้ความสามา...

  • shining consult นิยาม SME.png
    นิยาม SMEs ตามประเภทธุรกิจ 1. บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และคณะบุคคล 2. นิติบุคคล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห...