ความเป็นมาของ BCG Model
BCG Model ความเป็นมา และเป็นไปอย่างมีรูปธรรม
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต
ความเป็นมา BCG Model
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่า เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน(SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และประเทศสมาชิกรวม 193 ประเทศยอมรับและเริ่มต้นนำแนวคิดมาสู่การปฏิบัติจริง และมักเรียกติดปากกันว่า Agenda 2030 หรือ Global Goals
สำหรับประเทศไทย...ยุคไทยแลนด์ 4.0 นโยบายนี้เป็นนโยบายรัฐบาลสมัยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี มีวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศ ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” และในยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” เป็นความมุ่งมั่นของนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ ไปสู่ “Value–Based Economy” หรือ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพื่อพาประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำทางสังคม และกับดักความไม่สมดุลในการ พัฒนา โดยมีการปรับเปลี่ยนใน 4 มิติดังนี้
มิติที่ 1 ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ คือลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยมุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความคิดสร้างสรรค์ และเปลี่ยนจากเน้นภาคการผลิตสินค้ามาสู่ภาคบริการมากขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จะนำาไปสู่ความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ
มิติที่ 2 ความอยู่ดีมีสุขของผู้คนในสังคม (Social Well-beings) ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีการเกษตรเพื่อสร้าง รายได้ให้เพิ่มมากขึ้น ยกระดับธุรกิจเอสเอ็มอีและวิสาหกิจชุมชมด้วยเทคโนโลยีนวัตกรรม สร้างระบบสวัสดิการสังคม ภายใน 20 ปี
มิติที่ 3 การยกระดับศักยภาพและคุณค่าของมนุษย์ (Human Wisdom) การพัฒนาทุนมนุษย์ เน้นการพัฒนามาตรฐานของเด็กไทย ยกระดับคุณภาพของแรงงานให้ สอดคล้องกับตลาดแรงงานและทิศทางการพัฒนาของประเทศ
มิติที่ 4 การรักษ์สิ่งแวดล้อม (Environmental Wellness) สิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ตัวเลข การเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น ลดการปล่อยมลพิษ รู้จักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและบริหารจัดการทรัพยากรอย่าง มีประสิทธิภาพ มีพื้นที่ทางการเกษตรอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน มีระบบการจัดการขยะอย่างยั่งยืนและถูกต้อง ตามหลักสุขาภิบาล
ด้วยเหตุนี้ที่ประเทศไทยเผชิญกับการรับรองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ประกอบกับยุทธศาสตร์ “ประเทศไทย 4.0” ที่ต้องการพัฒนาใน 4 มิติดังกล่าว ทำให้เกิดแนวคิด BCG Model ขึ้น ซึ่งคำว่า BCG Model มีความหมายดังนี้
BCG คือ BIO หรือชีวภาพ Circular หมุนเวียน และ Green สีเขียว
Model (โมเดล) หมายถึง รูปแบบ หรือ แบบจำลอง ในภาษาวิชาการ
เมื่อรวมกันแล้วจึงเป็นแบบจำลองเรื่องชีวภาพ เรื่องการหมุนเวียน และ เรื่องสีเขียว ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน นั่นเอง แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นในเมืองไทยโดยผู้คิดได้รวมเอาแก่นแท้ที่เป็นหัวใจหลัก 3 คำของการพัฒนาที่ยังยืน มาทำแบบจำลอง คือ BIO หรือชีวภาพ + Circular หมุนเวียน+ Green สีเขียว เข้าด้วยกัน มาจัดทำเป็นโมเดลเพื่อการพัฒนาที่สามารถตอบโจทย์ทั้งยุทธศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน
แนวคิด BCG (Bio-Circular-Green) เป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ต่อยอดมาจากการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลในการพาประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 โดยตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี โดยมีความหมาย ดังนี้
B = เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เป็นการนำความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มาพัฒนาต่อยอดจากฐานความเข้มแข็งเดิม นั่นก็คือ ทรัพยากรชีวภาพ หรือผลผลิตทางการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวที่มีธาตุอาหารสูง เป็นต้น
C = เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การนำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มค่าที่สุด ที่สำคัญคือการมุ่งไปที่ ZERO WASTE หรือการลดปริมาณของเสียให้น้อยลงหรือเท่ากับศูนย์ ด้วยการปรับกระบวนการผลิต เช่น การเปลี่ยนของเสียจากการผลิต
G = เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้เอมไซม์จากจุลินทรีย์เพื่อการฟอกกระดาษ การใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืชทดแทนการใช้สารเคมี เป็นต้น
ความเป็นไปได้ในการนำ BCG Model สู่การปฏิบัติ
การบริหารงานโดยรัฐบาลได้นำเอาแนวคิด BCG Model สู่การปฏิบัติโดยเลือกอุตสาหกรรมที่ต้องการนำร่อง กล่าวคือเป็นอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง หรือที่เรียกกันว่า เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็น S-Curve จำนวน 4 อุตสาหกรรม ได้แก่
1. อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (Food and Agriculture)
เป็นที่เข้าใจกันมาตลอดเวลาภาคเกษตรของไทยเรานั้นมักมีสถานการณ์คล้าย ๆ กันคือ ผลผลิตมาก แต่รายได้น้อย และมีความเปลี่ยนแปลงจากสภาพอากาศ หรือ โลกร้อน เข้ามาทำให้การได้มาซึ่งผลผลิตมีปัญหาหลายอย่างเกิดขึ้น การนำแนวคิด BCG มาใช้นั่นจะเป็นการช่วยผลักดันให้ภาคเกษตรมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตด้วย ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และในมุมมองด้านอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่พึ่งพิงภาคเกษตร การต่อยอดและเพิ่มมูลค่า ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ รวมถึงการวิจัยและพัฒนานั้น จะต้องตอบโจทย์ที่เฉพาะเจาะจง หรือมองตลาดเฉพาะบุคคล ตลาดเฉพาะกลุ่มมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจได้แก่ ตลาดผู้สูงอายุ หรือตลาดผู้ป่วยเฉพาะโรค เป็นต้น ทั้งนี้ยังรวมถึงอาหารทางเลือกอีกด้วย
2. อุตสาหกรรมพลังงานและเคมีชีวภาพ (Bioenergy, Biomaterial, Biochemical)
เป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน และวัสดุเหลือใช้ที่สามารถนำมาทดแทนพลังงานฟอสซิล หรือการนำมามาใช้ทดแทนเคมีต่าง ๆ ด้วยการใช้เทคโนโลยีแปรรูปวัสดุเหลือทิ้งเป็นพลังงานชีวภาพ ที่อาจใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ด้านพลังงานเราอาจเคยเห็นการผลักดันด้านพลังงานที่ผ่านมาแล้ว การตั้งเป้าหมายให้มีการผลิตและใช้พลังงานที่ทดแทนได้ 30% ในอีก 15 ปีข้างหน้า จึงต้องมุ่งพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีที่จะช่วยสร้างพลังงานทดแทน ไม่ว่าจะเป็น Biomass และ Biogas จากวัสดุในภาคการเกษตร และยังรวมไปถึงการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น Bioplastic เป็นต้น
3. อุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ (Medical and Wellness)
เป็นด้านการแพทย์และการดูแลสุขภาพหรืออาจเรียกว่า Wellness นั้น ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ถูกยอมรับกันทั่วโลก โดยเฉพาะทางด้านบุคลากร ที่มีความรู้ มีความทันสมัย และมีใจบริการ การนำ BCG มาใช้ในอุตสาหกรรมนี้ ทำให้เราเกิดวิจัยพัฒนาทั้งในเรื่องเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อลดการนำเข้าแต่มีความแม่นยำสูง การใช้แบบเดิมแต่สามารถหมุนเวียนสิ่งต่าง ๆ กลับมาใช้ได้อีก การพัฒนายา การพัฒนาวัคซีนรูปแบบต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการแปรรูปสมุนไพรที่สามารถใช้ได้ทั้งทางการแพทย์และสุขภาพแล้ว ความก้าวหน้าเหล่านั้นยังมีมูลค่าที่สามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
4. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ (Tourism and Creative Economy)
ในอุตสาหกรรมนี้นับเป็นอุตสาหกรรมสำคัญสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้หลักอย่างหนึ่งของประเทศ นอกเหนือจากการส่งออกและอื่น ๆ นอกจากนี้ไทยเรายังมี Soft Power อย่างหลากหลายและกระจัดกระจายอยู่ในหลายรูปแบบ แต่หากเราพิจารณาว่าอุตสากรรมนี้เป็นอุตสาหกรรามที่ใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย และเกิดความไม่ยั่งยืนได้ง่าย การใช้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยพัฒนาต่อยอดให้เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้ การนำแนวคิดมาช่วยจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จะส่งเสริมทั้งทางด้านมูลค่าและความยั่งยืน อีกด้วย
เป้าหมายของ การขับเคลื่อน BCG Model
เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ประเทศเพื่อใช้ขับเคลื่อน BCG Model ดังนี้
- มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมเป้าหมาย BCG
- ลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเพิ่มรายได้เกษตรกรและชุมชน
- ยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทยขึ้นเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อสุขภาพและส่วนประกอบอาหารมูลค่าสูง Top 5 ของโลก
- สร้างและพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ การผลิตยา เครื่องมือแพทย์ วัสดุชีวภาพให้มีความเข้มแข็ง มีศักยภาพส่งออก เป็นแหล่งจ้างงานทักษะสูงและรายได้สูง
- ระบบบริหารจัดการท่องเที่ยว นำไปสู่ Top 3 ของเอเชีย-แปซิฟิก จัดโดย Travel & Tourism Competitiveness Index, World Economic Forum
- ลดการใช้ทรัพยากรลง 2 ใน 3 จากปัจจุบัน
ทั้งนี้ การที่เราจะนำเอา BCG Model สู่การปฏิบัติยังต้องมีอีกหลายปัจจัยนอกเหนือจากการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาแล้ว อาจยังต้องมีสิ่งจูงใจให้เกิดความต้องการนำแนวคิดไปใช้อย่างทั่วถึง เช่น นโยบายเกี่ยวกับภาษี เป็นต้น เรายังต้องติดตามกันเรื่อยไปถึงความก้าวหน้าที่สามารถตอบโจทย์เป้าหมาย หากสำเร็จได้ เราจะเป็นประเทศชั้นนำของโลกประเทศหนึ่ง
ที่มา
https://www.sdgmove.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-sdgs/#:~:text=%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%99,2030)%E0%B8%89%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA
chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000368.PDF
chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://www.excise.go.th/cs/groups/public/documents/document/dwnt/mjgy/~edisp/uatucm282681.pdf
https://www.bangkokbiznews.com/business/859943
https://marketeeronline.co/archives/209826
https://www.thairath.co.th/lifestyle/life/2557365
ติดต่อสอบถามหลักสูตร/โครงการ @shiningconsult
-
BCG Model เป็นเพียงกระแส หรือ ความมุ่งมั่น สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ขณะที่เราเผชิญปัญหาจากสถานการณ์โควิด19 นั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงการระวังร...
-
17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs : Sustainable Development Goals) เกิดขึ้นจากการรับรองของสมาชิกสหประชาชาต...
-
การสร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบวก เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker)กูรูด้านการบริหารระดับโลก บิดาแห่งการบริหารจัดการ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “Cu...
-
ความแตกต่างระหว่างMentoring, Training, Coaching, Counseling and Consulting เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ทำไมเราต้องมารู้คำจำกัดความและหน้าที่ของคนเหล่านี้ เพราะในที่สุดก็คือผู้ใช้...
-
5 โมเดลค่าจ้างที่ปรึกษา : คำถามคาใจเมื่ออยากใช้บริการ เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Paint Point อย่างหนึ่งในใจผู้จ้างงานที่ปรึกษา “ความกลัว” เรื่อง “ค่าจ้าง” เพราะในสถานการณ์ทั่วไป...
-
การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ (Business networking) เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ เป็นการสร้างสังคมทางธุรกิจประเภทหนึ่ง หรือเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้นักธุ...
-
การปรับตัวและใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ก้าวสู่ Digital Business และการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการ เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การอบรมเชิงปฏิบัติการ "การปรับตัวและใช้ดิจิทัลเทคโนโลยี ก้า...
-
การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต จากสถานการณ์การเปลี่ยนแปล...
-
Social Business คืออะไร ทำอะไร อย่างไร? เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 4 ธุรกิจนี้ ต่างกันตรงไหน แยกไม่ออก… 1. โอทอป (OTOP)2. วิสาหกิจชุมชน (Small and Micro community Enterprise–SMC...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต อีกหนึ่งเรื่องเล่าจากที่ปรึกษา หลังจากที่ผู้ประกอบการได้ทำกิจการหลัก เป็นผู้ผลิตสินค้ามาอย่างต่อเนื่อง และอยากได้อาชีพที่คนในครอบครัวมีความรู้ความสามา...
-
นิยาม SMEs ตามประเภทธุรกิจ 1. บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าของคนเดียว ห้างหุ้นส่วนสามัญ และคณะบุคคล 2. นิติบุคคล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห...