BCG Model เป็นเพียงกระแส หรือความมุ่งมั่น สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
BCG Model เป็นเพียงกระแส หรือ ความมุ่งมั่น สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต
ขณะที่เราเผชิญปัญหาจากสถานการณ์โควิด19 นั้น ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงการระวังรักษาตนเองตามคำแนะนำทางสาธารณสุขแล้วนั้น “คน” แล้วนั้น ยังเกิดคำสำคัญในระหว่างการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ หรือ New Normal เกิดขึ้นในโลก ชีวิตรูปแบบใหม่ที่ต้องเผชิญไม่นานนัก คำว่า Next normal ก็เข้ามาแทนที่ เพื่อให้ทุกคนในโลกเตรียมพร้อมการใช้ชีวิตให้เป็นปกติมากที่สุด และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ไปได้อย่างลดทอนอุปสรรคที่เกิดขึ้น เหตุการณ์ที่ผลิกผันทำให้เปลี่ยนแปลงวิธีคิดและการใช้ชีวิตของผู้คนเป็นอันมาก
ความตระหนักของผู้คนที่ต้องการสัมผัสสิ่งของนอกบ้านให้น้อยที่สุด ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันมากขึ้น หน้ากากอนามัย ภาชนะแบบใช้ครั้งเดียว(Single use) ขวดน้ำขนาดเล็ก เป็นขยะสำคัญที่เกิดขึ้น มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้เห็นว่า เศรษฐกิจไม่ได้ถูกขับเคลื่อนจากความยั่งยืน ความตระหนักนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะนโยบายรัฐเพื่อการขับเคลื่อนอีกต่อไป แต่ตระหนักไปถึงผู้ใช้เองที่ต้องทิ้งขยะแบบใช้ครั้งเดียวจำนวนมากต่อวัน ความรู้สึกเหล่านี้ก็ทำให้กลุ่มคนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การทำอาหารกินเอง เพื่อลดขยะและยังเป็นวิธีการประหยัดเงินอีกทางหนึ่ง นับเป็นสัญญาณที่ดีกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการเปลี่ยนมุมมองเช่นนี้ อาจทำให้ธุรกิจต้องปรับตัว สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นกัน
เมื่อเกิดสถานการณ์เหล่านี้ขึ้น จึงทำให้เกิดกระแสของคำ 2 คำเกิดขึ้นในการปรับตัวของธุรกิจ ในขณะเดียวกันก็มีการผลักดันเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้าสู่วาระแห่งชาติ คำ 2 คำนั่นคือ BCG Model และ ESG Model
BCG Model คือ โมเดลทางเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการขับเคลื่อน เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ที่นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
B ย่อมาจาก Bio Economy เป็นการสร้างการเติบโตโดยอาศัยฐานทรัพยากรของชาติด้านชีวภาพ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงเรื่องสุขภาพ สิ่งแวดล้อม หรือแม้แต่การท่องเที่ยว ครอบคลุมไปถึงการใช้วัฒนธรรมเป็นฐาน หรือวัฒนธรรมสร้างชีวิต
C ย่อมาจาก Circular Economy เป็นความพยายามในการยืดอายุการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้ยาวนานที่สุด ซึ่งทำได้หลากหลายวิธี เช่น การรีไซเคิล, หรือการ sharing ใช้ยานพาหนะ ใช้รถยนต์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
G ย่อมากจาก Green Economy เป็นการพัฒนาที่ดูความสมดุลระหว่างการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ กิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การผลิต หรือการบริการ ที่สมดุลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ BCG Model นั้น ยังสอดรับกับแนวทางการพัฒนาในภาพใหญ่ของโลกตามเป้าหมาย Sustainable Development Goals (SDGs) ที่กำหนดโดยสหประชาชาติ (UN) อีกด้วย
ESG Model คือ กรอบการทำธุรกิจที่ประณีตมากขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดีตลอดห่วงโซ่คุณค่าและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด นับเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเช่นเดียวกัน แต่ ESG เน้นการนำไปใช้ในเชิงการบริหารธุรกิจ ด้วย 3 คำ คือ
E= Environment หมายถึง เป็นธุรกิจที่ไม่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
S=Social หมายถึง เป็นธุรกิจที่ดีต่อชุมชน สังคม และผู้มีส่วนได้เสีย
G= Governance หมายถึง เป็นธุรกิจที่ซื่อสัตย์ โปร่งใส และมีบรรษัทภิบาล
ในการบริหารธุรกิจที่นำเอา ESG นั้นเริ่มต้นจากความคิดหรือเป้าหมายขององค์กรเป็นหลัก และนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้ด้วยความยั่งยืน
หากเราพิจารณาว่า BCG เป็นกระแส หรือ ความมุ่งมั่น นั้น สำหรับประเทศไทยเราคงหาคำตอบได้ไม่ยาก ซึ่งเมื่อดังนั้น เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2564 การประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน จึงได้เห็นชอบยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 และพร้อมประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ แต่สำหรับภาคเอกชนก็สามารถร่วมขบวนผ่านแนวคิดภายในองค์กรผสมผสานกับการได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานที่รองรับแนวคิด ก็จะสามารถเริ่มต้น BCGModel ไปพร้อมกันได้ ไม่ตกขบวน
ที่มา
https://www.setsustainability.com/libraries/1031/item/-esg-bcg-
https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/20162/0920_new_market.html
https://www.nxpo.or.th/th/7040/
https://mgronline.com/business/detail/9640000006120
ติดต่อสอบถามหลักสูตร @shiningconsult