Consult

บริษัท ไชนิ่ง คอนซัลท์ จำกัด ชำนาญด้านกลยุทธ์องกรค์ กลยุทธ์การบริหารงาน การปรับโครงสร้างการบริหารงาน Re-organization และการจัดทำกลยุทธ์เพื่อตอบสนองการทำงาน โครงการ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์
บริษัท ไชนิ่ง คอนซัลท์ จำกัด มีผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การตลาด ที่ปรึกษาการตลาด ชำนาญการกว่า 20 ปี สามารถจัดทำกลยุทธ์ วางแผนการตลาด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ให้ได้มาซึ่งยอดขาย และความสำเร็จ
บริษัท ไชนิ่ง คอนซัลท์ จำกัด มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรีกษาด้านการเงิน สินเชื่อเพื่อการส่งออก และการปรับโครงการการเงิน สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างราบรื่น
บริษัท ไชนิ่ง คอนซัลท์ จำกัด เราเข้าใจด้านงานบริการ และการบริหารงานบริหารให้เกิดประสิทธิภาพ บริการประทับใจลูกค้ายุคใหม่ กลยุทธ์การบริการ แผนพัฒนางานบริการ และการอบรมหลักสูตรบริการสำหรับพนักงานบริการ
หน้าที่ของที่ปรึกษา (Duties of consultants) อาชีพของที่ปรึกษา ต้องทำอะไรบ้าง สิ่งที่ที่ปรึกษาควรทำ ที่ปรึกษาช่วยอะไรบ้าง

โค้ช (Coach)  ผู้เชี่ยวชาญ (Expert)  ต่างกับที่ปรึกษา (Consultant) อย่างไร

การโค้ช (Coaching) มีความหมายแตกต่างกันไปในยุคสมัย ในยุคหนึ่งนั้นการโค้ชเป็นเครื่องมือของหัวหน้า ผู้จัดการ หรือผู้นำก็ได้ ที่ใช้เพื่อดึงศักยภาพของคนในทีม ในสมัยก่อนเรียกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา ให้พวกเขาปฏิบัติงานให้ถึงเป้าหมายได้ดีขึ้น เต็มความสามารถมากยิ่งขึ้น กระบวนการส่วนใหญ่เป็นความต่อเนื่องจากการสั่งงาน ที่ผู้ปฏิบัติอาจยังมีความไม่เข้าใจหรือทำได้ไม่ดีนัก จึงใช้วิธีการสอน (teaching) ประกอบ ปัจจุบันอาชีพโค้ช ได้นำหลักการดึงศักยภาพมาใช้เป็นกระบวนการ โดยส่วนใหญ่เป็นเการชวนคิดผ่านกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ลูกค้าสามารถปลดล็อคบางอย่างได้ และพัฒนาเติบโตขึ้น ซึ่งเราจะเห็นอาชีพโค้ชในรูปแบบดั้งเดิมที่รู้จัก และแบบสมัยใหม่ที่อาศับในหการมาช่วยทำให้ผู้คนบรรลุเป้าหมายได้ คือ 

  • Sport Coach เป็นโค้ชกีฬา ที่เราเห็นและคุ้นตามาตลอด นับเป็นอาชีพเก่าแก่ในเมืองไทย ที่ทำให้ใครหลายคนรู้จักคำว่าโค้ช และเชื่อมโยงมาสู่การทำงานในที่สุด
  • Mentor Coach หรือเป็นโค้ชพี่เลี้ยง เป็นผู้ที่มีประสบการณ์การเป็นอย่างดี คอยชี้แนะ ช่วยเหลือ โดยการเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ อย่างดี
  • Performance Coach เป็นการโค้ชในองค์กรเพื่อดึงศักยภาพคนให้มีผลการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีการนำหลักการนี้มาทำเป็นอาชีพด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน ทำให้บุคคลผู้ได้รับการโค้ชประสบความสำเร็จได้มากขึ้น
  • Life Coach เมื่อโลกต้องการ Work life balance มากขึ้น การโค้ชในเรื่องการสร้างแรงบันดาลใจให้บรรลุเป้าหมายของชีวิตก็นับว่ามีความสำคัญกับคนรุ่นใหม่
  • Executive Coach หรือ การโค้ชผู้บริหารนั้น มีความนิยมไม่แพ้กัน เพราะนอกจากช่วยให้ผู้บริหารมี Work life Balance แล้ว ยังช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จได้ดียิ่งขึ้น
  • Money Coach หรือ การโค้ชเรื่องการเงิน นับเป็นการโค้ชที่เข้ากับยุคปัจจุบันที่คนสนใจในเรื่องการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตมากยิ่งขึ้น การได้รับการโค้ชจะทำให้ผู้คนเข้าใจ และบรรลุเป้าหมายด้านการเงินในชีวิต ดังนั้น การใช้เทคนิคการโค้ชจึงไม่ได้อยู่ในของข่ายของการสอน (Teaching) แต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจประกอบด้วย Story telling, การใช้ Dialogue ประกอบกับ คำถามที่มีพลัง Powerful question นำไปสู่การ Brain stormเพื่อให้ได้ ที่นำไปสู่การฟังให้ได้ยิน (Deep listening) และเครื่องมือเหล่านี้เองจะช่วยให้ผู้ที่ได้รับการโค้ช เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและทรงพลัง ที่จะก้าวไปสู่การพัฒนา เปลี่ยนแปลง และดำเนินไปจนถึงความสำเร็จในชีวิต
  • ผู้เชี่ยวชาญ (Expert) หรือ บางทีเราเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Specialist หมายถึง ผู้ที่มีประสบการณ์ หรือ มีความชำนาญช่ำชองหรือเก่งแบบโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชาชีพ ที่ตนเองมีประบการณ์ สามารถใช้ความเชี่ยวชาญของตนเองมา วิเคราะห์ แก้ไข หาทางออก ในเรื่องที่ชำนาญเฉพาะด้าน บุคคลเหล่านี้เป็นคนเก่งที่สามารถนำความเก่งของตัวเองมาถ่ายทอดได้ มีความสามารถที่จะชี้แนวทางให้เกิดการปฏิบัติที่ดีขึ้นได้ ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการ

ที่ปรึกษา (Consultant)

ที่ปรึกษา หมายถึง ผู้ที่ให้ความเห็นและคำแนะนำตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรู้เชิงวิชาการและประสบการณ์ ตลอดจนมีทักษะในการคิด วิเคราะห์ ให้ข้อเสนอแนะ ดังนั้นทักษะที่ใช้ในในกระบวนการในคำแนะนำ อาจได้แก่

  • การวินิจฉัย คือ การตรวจสอบ วิเคราะห์สภาพที่แท้จริงของการบริหารจัดการด้วยใช้ข้อมูล ทรัพยากร เครื่องมือ และกระวนการต่างที่เหมาะสม เพื่อทราบ จุดเด่น จุดด้อย รู้สถานภาพและศักยภาพที่แท้จริงขององค์กร พร้อมแนวทางที่จะปรับปรุงกิจการให้ดีขึ้นไปจนถึงความมั่นคงทางธุรกิจ ระยะเริ่มต้นอาจใช้เวลาตั้งแต่ 1-60 วัน ขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการและความต้องการแก้ปัญหา
  • การให้คำแนะนำเบื้องต้น คือ การนำผลการวินิจฉัยเพื่อกำหนดปัญหาพร้อมทั้งเลือกโซลูชั่น (Solution) มาวางแผนที่เหมาะสมสำหรับปัญหาและความสามารถของธุรกิจ และนำไปสู่การดำเนินการตามแผนงานนั้น ซึ่งอาจมีการปรับปรุงได้บ้างเพื่อให้ตอบโจทย์กับความเร่งด่วนของปัญหา หรือ ทำให้แผนนั้นเกิดประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ปัญหาเหล่านี้อาจไม่ใช่ปัญหาเชิงลึกแต่สามารถดำเนินงานได้ไม่ยาก ระยะเวลาการดำเนินงานจะต้องใช้เวลาประมาณ 6 -12 เดือน
  • การให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึก คือ การที่สถานการณ์ขององค์กรนั้นเกิดปัญหาที่ซับซ้อน หยั่งรากลึกในปัญหา ใช้เวลานานในการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ในบางครั้งอาจมีเรื่องเชิงกฎหมาย ข้อกำหนดที่ เกี่ยวข้องเข้ามาเกี่ยวพันกับสภาพปัญหา เพื่อให้สามารถหาทางออกได้ชัดเจนจากความซับซ้อนของปัญหา ที่ปรึกษาอาจสามารถสังเกตกระบวนการทำงาน สัมภาษณ์พนักงาน ผู้จัดการ ผู้บริหาร สมาชิกคณะกรรมการ หรือบุคคลอื่น ๆ และศึกษาวิธีที่องค์กรดำเนินการเพื่อนำไปสู่ทางเลือก (Solution) ที่เหมาะสม หากพิจารณาด้านเวลาแล้ว อาจใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี


ทำไมต้องจ้างที่ปรึกษา

มีคำถามอยู่บ่อยครั้งที่ผู้บริหารมักเปรียบเทียบการจ้างพนักงานแล้วได้งานที่มีผลลัพธ์ตามเกณฑ์ที่กิจการกำหนด เช่น การใช้หลักการ KPI เป็นตัวชี้วัด กับการจ้างที่ปรึกษา หรือการหาองค์กรภายนอกที่อาจเรียกว่าเป็น Outsource มาช่วยสนับสนุนการแก้ปัญหา การพัฒนา การจัดทำมาตรฐาน ทั้งนี้ เพื่อให้แนวทางปฏิบัติเพื่อลดความยุ่งยาก หรือเป็นการเสริมมาตรฐานการทำงานให้เป็นสากลมากขึ้น ดังนั้น การจ้างที่ปรึกษาก็เพื่อที่จะได้ความเป็นมืออาชีพมาถ่ายทอดความรู้และการชี้แนะ ชี้นำ ในเรื่องที่ต้องการ ทำให้เกิดการพัฒนา ปรับปรุง แก้ไขภายในระยะเวลาอันสั้น ช่วยให้องค์กรไปถึงจุดหมายอย่างรวดเร็ว จะเห็นว่ามีความแตกต่างกับการการจ้างพนักงานประจำเพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ แม้ในจะเป็นการจ้างนักบริหารมืออาชีพก็ตาม ดังนั้น การจ้างที่ปรึกษา หรือแม้แต่องค์กรภายนอก นับเป็นความพยายามของผู้บริหารในการพัฒนาองค์กรในด้าน ที่องค์กรอาจมีจุดอ่อนที่แตกต่างกันไป ได้รับการพัฒนาโดยที่ปรึกษาจะเข้ามาช่วยเสริมความคิด ทักษะ กระบวนการให้องค์กรเปลี่ยนจุดอ่อนเป็นจุดแข็งได้ ปัญหาส่วนใหญ่ในการทำธุรกิจที่ต้องการคือ

  • ที่ปรึกษาในด้านการจัดการองค์กรและระบบการปฏิบัติงาน (Management Consultant) เน้นการให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับกลยุทธ์องค์กร ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มคุณภาพการปฏิบัติงาน การควบคุมผลงานเพื่อผลลัพธ์ที่ดี ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่ม/ลดกระบวนการ เพิ่ม/ลดความผิดพลาด ในการทำงาน
  • ที่ปรึกษาด้านการตลาด (Marketing Consultant / Digital Marketing Consultant) ในมุมมองการตลาดปัจจุบัน องค์กรอาจมีความต้องการหลายรูปแบบได้แก่ แนวคิดการตลาดนำ จึงต้องการที่ปรึกษาเพื่อช่วยในการ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย วีธีการจัดเก็บข้อมูลและการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ กลยุทธ์การตลาด และแนวการขายนำ คือ ต้องการเพิ่มยอดขายโดยไม่สนใจการตลาด จึงเกี่ยวข้องกับการออกแบบการขาย การพัฒนายอดขาย การพัฒนาทักษะพนักงานขาย การจัดทำเครื่องมือขาย การจัดทำสคริปขาย ทั้งนี้รวมไปถึงความต้องการที่ปรึกษาทั้งการตลาดแบบ Offline และแบบ online หรือ Digital Marketing อีกด้วย
  • ที่ปรึกษาทางด้านการเงิน (Financial Consultant) โดยส่วนใหญ่นั้นบัญชีและการเงินอาจเป็นเรื่องรองในการให้ความสำคัญ และมักนำมาซึ่งปัญหาของการเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน ทำให้ต้องกลับมาทบทวนปัญหาทางการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพ ความมั่นคงทางการเงินให้กับธุรกิจให้เพียงพอ อีกนัยหนึ่งหากองค์กรต้องการขยายตัวทั้งในประเทศ และการลงทุนระหว่างประเทศ (Foreign direct investment) ย่อมต้องใช้มืออาชีพเข้ามาช่วยทั้งในเรื่องมุมมอง รูปแบบ วิธีการ หากมีที่ปรึกษาที่เชียวชาญจะช่วยลดเวลาที่จะต้องศึกษาเองได้มากขึ้น
  • ที่ปรึกษาด้านทรัพยากรบุคคล (HR Consultant) การบริหารทรัพยากรบุคคลมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องดำเนินงานเพื่อให้บุคลากรอยู่อย่างเป็นสุข ดังนั้นการสร้างแนวคิดให้พนักงานอยู่ในที่ทำงานอย่างเป็นสุขและทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้วัฒนธรรมองค์กรเดียวกัน องค์กรจึงต้องศึกษาหาแนวทางและพัฒนางานด้านการสรรหาบุคคลที่เหมาะสม การให้เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ตลอดจนความรู้ที่เพียงพอ การมีที่ปรึกษาเข้ามาช่วยสนับสนุน แก้ไข และเพิ่มเติมส่วนที่ขาดหาย จะช่วยรักษาบุคลากรให้อยู่กับองค์กรได้อย่างดี
  • ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยี (IT Consultant) ในยุครุ่งเรืองทางดิจิทัล องค์กรจะมีความต้องการด้านนี้มากยิ่งขึ้น ที่ปรึกษาจะช่วยในเรื่องความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสนับสนุนทางเทคนิคที่เหมาะสม การวางระบบสารสนเทศที่เหมาะสมและพร้อมขยายตัว การเลือกวิธีการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับขนาดขององค์กร
  • ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Consultant) มีความรู้ความชำนาญด้านการวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อองค์กรมีการลงทุนนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการทำงาน แต่อาจจะมีบุคลากรไม่เพียงพอ หรือขาดประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในเชิงลึก ที่ปรึกษาจะให้คำปรึกษา แนะนำ บริหารจัดการ เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักวิชาการอย่างรอบคอบ และทันต่อเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งการให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคลากรในด้านเทคนิคต่างๆ ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ให้แก่บุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญเชิงลึก