การเตรียมพร้อมก่อนไปศึกษาดูงานต่างประเทศ
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต
มักมีคนกล่าวกันว่า การไปดูงานในต่างประเทศนั้น ก็แค่พากันไปเที่ยว หากเป็นภาครัฐ ก็อาจถูกมองว่า ผู้ที่เดินทางมักมีความต้องประสงค์ที่จะเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่โดยส่วนใหญ่ปัญหาที่พบคือ เรามักไม่ค่อยพบการการดูงานที่ตรงใจ มุ่งสู่การสร้างความเข้าใจการค้าที่แท้จริง และสนุกกับการเรียนรู้นั้น ส่วนใหญ่จะพบกับการศึกษาดูงานที่เหมือนการท่องเที่ยวเป็นหลัก จึงมักพูดกันว่า ไปดูงานหรือไปเที่ยวกันแน่ ดังนั้น การเตรียมพร้อมตั้งแต่ต้นก็มีความสำคัญเช่นกัน คือ
1. ตั้งคำถามกับประเด็นปัญหาเชิงลึก ที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ เพื่อทราบว่าเราจะได้ไปในสถานที่ หรือ แหล่งข้อมูลที่ตอบโจทย์ความต้องการหรือไม่
2. เลือกผู้จัด ควรเลือกผู้จัดที่มีความชำนาญในเรื่องที่สามารถพาไปศึกษาดูงานได้ตรง และตอบประเด็นปัญหาที่ต้องการศึกษาได้ ซึ่งเดิมได้บางครั้งเราอาจพิจารณาแค่ว่า ไปที่ไหน พักที่ไหน ร้านอาหารอย่างไร แต่ไม่ได้เลือกผู้จัดที่มีความรู้ตรง จึงเหมือนกับการไปเที่ยวมากกว่าการดูงาน
3. ทำการบ้านร่วมกันก่อนการดูงาน นับเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องศึกษาตั้งแต่เรื่องคำถามหรือประเด็นสำคัญที่อยากรู้ในแต่ละสถานที่ที่ไปศึกษาดูงาน ตลอดจนเรื่องทั่วไปของประเทศนั้น เรื่องควรทำ ไม่ควรที่จะพูด มารยาทบางอย่าง ข้อห้ามบางอย่าง ภาษาบางอย่างทีควรทราบ และข้อที่ต้องระวังตัวในการเดินทาง ถ้าเป็นการเดินทางเองและต้องไปสถานที่ต่าง ๆ เองต้องศึกษาเรื่องแผนผังเมือง ระบบขนส่ง โรงแรมที่พัก อาหาร ไว้ด้วย
4. เตรียมความพร้อมเรื่องส่วนตัว นับเป็นเรื่องทั่วไปตั้งแต่เอกสารสำคัญ การจัดกระเป๋าถือ กระเป๋าเสื้อผ้า การเตรียมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับอากาศและมารยาท การให้เกียรติสถานที่ที่เราต้องไป การเตรียมเรื่องยาที่เกี่ยวข้อง โทรศัพท์และระบบโทรศัพท์ หรือบัตรโทรศัพท์ที่ต้องใช้เมื่ออยู่ต่างประเทศ ข้อห้ามที่พึงระวังในการเดินทางโดยเครื่องบินเช่น ของเหลว มี กรรไกร เป็นต้น การเตรียมเรื่องเงิน ค่าเงิน เครดิตการ์ด นามบัตรส่วนตัวที่มีภาษาต่างประเทศ เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการดูงานนั้น ไม่ว่าจะเป็นกล้อง เครื่องอัดเสียงหรือภาพเคลื่อนไหว สมุดโน้ต ปากกาที่ให้ได้ดี บางครั้งหากมีประเด็นสำคัญอยู่ก่อนแล้วควรเขียนลงในสมุดโน้ตเพื่อกันลืมไว้เลยเพราะหลายครั้งเราอาจเพลิดเพลินกับสิ่งที่เห็น สิ่งที่ฟัง จนลืมถามประเด็นปัญหา หรือ อาจไม่กล้าที่จะถาม ก็สามารถเตรียมคำถามเป็นภาษาต่างประเทศไว้ก่อนได้ เพื่อจะไม่พลาดสิ่งที่อยากรู้
5. สรุปบทเรียน ความรู้หลังจากการเดินทางไปแล้ว เพื่อเห็นว่าเมื่อกลับจากการดูงานจะต้องทำอะไรต่อไป หรือสานต่อกิจกรรมอะไรบางอย่าง กับใครบ้าง
การเตรียมความพร้อมอย่างประณีตก็เป็นประโยชน์ในการดูงาน การสร้างความเข้าใจในตัวเอง ความต้องการชัด ๆ นั่นจะลดทอนปัญหาการไม่มีคำถาม ไม่กล้าถาม ไม่อยากพูดกับคนแปลกหน้า ภาษาไม่ดี ที่มักเป็นอุปสรรคในการเดินทางไปดูงานเสมอ การเตรียมพร้อมก็ทำให้เราเห็นจุดประสงค์ ทั้งเรื่องดูงาน และเรื่องอื่นๆ ทำให้เราสนุกกับการเดินทางเพื่อดูงานอีกด้วย
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความสัมพันธ์ไทย-นาโต้ นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ณ ขณะนั้น) ได้มีการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แล...
-
NATO คือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือย่อมาจากNorth Atlantic Treaty Organisation เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ เกิดขึ้นในช่วง...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Soft Power มีที่มาจากนายโจเซฟ เอส (Joseph S. Nye) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ของวิทยาลัยการปกครองเคเนดี้ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ให้นิยามว่า อำนาจ หม...
-
Cambodia : กัมพูชา Indonesia : อินโดนีเซีย Laos : สปป.ลาว Malaysia : มาเลเซีย Myanmar : เมียนมา หรือ พม่า Negara Brunei Darussalam: เนอการาบรูไน ดารุซซาลาม Philippines : ฟิลิปปินส์...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน ของกลุ่มประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บูรไนดารุสซาลา...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศไทยเราได้ก่อตั้งมูลนิธิบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ (บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ : Bangkok Art Biennale)นับเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน ที่มีความสามารถ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศที่นิ่ง ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวไปในทางบวกสักเท่าไร ทำให้หลายคนมองถึงการค้ากับคนนอกประเทศม...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมอาเซียน ทำให้มีหลายคนอยากศึกษาวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ ติดต่อได้คล่อง ไปเที่ยวได้สนุก ปรับตัวเข้ากับผู้คนประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่พอได้ล...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เคยถามหลายคนว่า ประเทศไทย ชื่อจริง ๆ ตามหลักการปกครอง ชื่ออะไร ก็มีหลายคนมองหน้าว่าเป็นการถามกวน ๆ หรือไม่ แต่ก็ตั้งใจถามจริงทุกครั้ง คำตอบที่ได้...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต AECเป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations :ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กฎบัตรอาเซียนเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญ ของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศพม่า หรือ Myanmar มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ Republic of the Union of Myanmar เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ก่อนที่มาเป็นชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ เมียนมา เดิมคือชื่อ พม่า หรือ Burma มีการเปลี่ยนชื่อประเทศในครั้งนี้ รัฐบาลเมียนมา ต้อง...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ภายหลังการประชุมรัฐสภาเมียนมาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 เมียนมาได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปัจจุบันมีรูปแบบการ...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว พื้นที่: 236,800 ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) และ 2 เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวี...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต พื้นที่ : พื้นที่ประมาณ327,500ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้1,650กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกา...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia) พื้นที่ :181,035 ตร.กม. (พื้นดิน 176,525 ตร.กม. พื้นน้ำ 4,520 ตร.กม.) อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดประเทศไทย (เขต จ.อุบลร...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เทศกาลน้ำ ประเพณีสำคัญของชาวกัมพูชา “เมืองแห่งสายน้ำ” ในอาเซียน กัมพูชาถือว่ามีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่า”โตนเลสาบ” อยู่กลางประเทศ หล่อหลอมเล...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. Royal Palace (พระราชวัง) 2. Cambodia National Museum (พิพิธภัณฑ์) 3. Tuol Sleng Genocide Museum (ตวล สเลง-ย้อนรอยคุกที่ไม่มีประตูออก) 4. Choeung Ek...
-
เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. มีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP อย่างสม่ำเสมอ เฉลี่ย 7.0% 2. อัตราการขยายตัวของชนชั้นกลาง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเที่ยบกับใน CLMV 3. ขนาดประเทศเล็...
-
เรียบเรียงข้อมูลโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะซึ่งได้รับมอบอำนาจการ บริหารบางประการเพื่อให้สามารถปกครองและ จัดการพื้นที่นั้นๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สัง...
-
เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Celebrating the 28thAnniversary of Independence of Republic of Armenia ฉลองครบรอบ 28 ปี วันชาติของสาธารณรัฐอาร์เมเนีย (22 กันยายน 2562) 22 กันยาย...
-
เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต โครงสร้างหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2025 ตามที่ระบุใน ASEAN Economic Community Blueprint 2025 นั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะประกอบไปด้วย 5 อ...