เขตเศรษฐกิจพิเศษ (special economic zone : SEZ)

เรียบเรียงข้อมูลโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต

เขตเศรษฐกิจพิเศษ หมายถึง พื้นที่เฉพาะซึ่งได้รับมอบอำนาจการ บริหารบางประการเพื่อให้สามารถปกครองและ จัดการพื้นที่นั้นๆ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม รวมไป ถึงให้สอดคล้องกับการขยายตัวหรืออุปสรรคต่างๆ ใน เขตพื้นที่นั้นๆ ภายใต้การสนับสนุนในเรื่องโครงสร้างขั้นพื้นฐานจากรัฐบาลกลางซึ่งกำกับดูแลพื้นที่นั้น

แนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในประเทศไทย พบว่าแนวคิดการพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษไม่ใช่เรื่องใหม่ในประเทศไทย ในระยะเวลาที่ผ่านมามีการพัฒนาในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน แต่มีรูปแบบต่าง ๆ กัน ได้แก่

1. นิคมอุตสาหกรรม (Industrial Estate: IE) เป็นรูปแบบการพัฒนาของพื้นที่เฉพาะ
2. เขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก (Export Processing Zone: EPZ) เป็นรูปแบบการพัฒนาของเมืองใกล้ท่าเรือหรือสนามบิน
3. คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse: BW)
4. ร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shop: DFS)
5. เขตการค้าเสรี (Free Trade Zone : FTZ)
6. เขตการค้าปลอดภาษี (Duty Free Port) เป็นรูปแบบการพัฒนาของเมืองท่า
7. เขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน (Special Border Economic Zone: SBEZ) เป็นรูปแบบการพัฒนาของพื้นที่ตามแนวชายแดน

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษมีสาระสำคัญ 3 ประการคือ

1. เขตเศรษฐกิจพิเศษไม่มีการจำกัดประเภทของธุรกิจ โดยนอกจากการอุตสาหกรรมแล้ว ผู้ประกอบการ ภายในเขตเศรษฐกิจพิเศษยังสามารถประกอบธุรกิจการเกษตร การปศุสัตว์การประมง การท่องเที่ยว การขนส่ง การเคหะและการก่อสร้าง การวิจัยและการผลิตที่ต้องใช้เทคโนโลยีระดับสูง ตลอดจนการค้าและการบริการด้วย

2. ผู้อาศัยและผู้ประกอบธุรกิจในเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีอากร

3. องค์กรบริหารเขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องมีอำนาจอำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ผู้ประกอบธุรกิจ และผู้อาศัยในเขตเศรษฐกิจพิเศษทุกเรื่องเพื่อก่อให้การประกอบธุรกิจเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

สาระสำคัญของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งสามประการดังกล่าวข้างต้น จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา เศรษฐกิจและศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในเวทีการค้าระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ อันเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของ ประชาชนโดยตรงในพื้นที่โดยเฉพาะและพื้นที่ใกล้เคียง

แนวคิดการปกครองรูปแบบพิเศษ “นครแม่สอด”

จุดแข็ง

ศักยภาพ

จุดอ่อน

ปัจจัยท้าทาย
– สภาพภูมิศาสตร์
– ศูนย์กลางการค้าชายแดน
– แหล่งอุตสาหกรรมและงานฝีมือ
– แหล่งทรัพยากร
– ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
– จุดเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
– จุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยว
– แหล่งแรงงาน
– ศูนย์กลางการค้าและการขนส่ง
– ความตื่นตัวของประชาชน
– ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
– ปัญหาด้านการคมนาคมขนส่ง
– ปัญหาจากแรงงานต่างด้าว
– ขาดเอกภาพในการบริหารจัดการ
– ขาดกลไกการประสานงานกับเพื่อนบ้าน
– การคุกคามจากโรคติดต่อ
– ปัญหาสังคมจากแรงงานต่างด้าว
– ความไม่แน่นอนในนโยบายชายแดน
– กฎระเบียบไม่สนองตอบศักยภาพ
– การเมืองระหว่างประเทศ

 

ศักยภาพของพื้นที่แม่สอด

1. จุดเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เป็นเมืองชายแดนและอยู่ในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาค 6 ประเทศจุดเชื่อมต่อด้านการคมนาคมขนส่ง การค้า และการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ จากทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออกของไทย

2. จุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยว จากภายในประเทศไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านจุดเชื่อมโยงนักท่องเที่ยวจากภายนอกประเทศสู่ส่วนอื่นๆ ภายในประเทศและสู่ประเทศในฝั่งตะวันออกของไทย

3. แหล่งแรงงาน จากประเทศเพื่อนบ้านที่ตอบสนองต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการใน พื้นที่จุดผ่านของแหล่งแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่จะเข้าไปทำงานในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศไทย

4. ศูนย์กลางการค้าและการขนส่ง ทั้งในระดับชายแดน และระดับอนุภูมิภาคเส้นทางคมนาคมและขนส่งสินค้าทั้งในระดับชายแดน และระดับอนุภูมิภาคจุดเมืองคู่แฝดระหว่างประเทศไทยและประเทศเมียนมา

5. ความตื่นตัวของประชาชน ให้การตอบรับและมีความตื่นตัวต่อการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาภายในพื้นที่ ภาคเอกชนและผู้ประกอบการต่างๆ มีการรวมตัวกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาการค้า การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมชายแดน

6. จุดเชื่อมโยงการพัฒนาการศึกษาร่วมกันระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านอีกหลายประเทศโดยเตรียมจัดตั้งมหาวิทยาลัยนานาชาติ ด้านอำเภอแม่สอดเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการศึกษาเละเชื่อมโยงไปสู่ การค้าขายส่งออกและเศรษฐกิจชายแดน กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศเมียนมา ประเทศอินเดีย โดยเปิดกว้างให้กับทุกเชื้อชาติ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายในประเทศไทย และยังรวมถึงเยาวชนใน ประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

 

แม่สอด Model 

จะเป็นการบริหารธุรกิจในรูปแบบใหม่ (New Economic City) ซึ่งไม่ใช่นิคมอุตสาหกรรมแบบเดิม แต่จะเป็นการบริหารธุรกิจโดยภาคเอกชนนำการลงทุน โดยใช้หลักการ sharing ภายใต้การกำกับดูแลโดยภาครัฐ ซึ่งจะต้องสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น การส่งเสริมการลงทุนโดยให้สิทธิพิเศษและประโยชน์ด้านต่าง ๆ แก่นักลงทุนแม่สอด Model จึงเป็นโครงการต้นแบบความสำเร็จของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และจะขยายผลไปยังเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดนอื่น ๆ ทั่วประเทศ กรอบแนวคิดการจัดทำแผนงานของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีหลักการสำคัญ ประกอบด้วย Custom Zone, Import-Export Free zone, Industry Zone, Logistics Park, Bonded Warehouse ทั้งนี้ โดยจัดให้มีการบริหารที่ดินด้วยต้นทุนต่ำให้เอกชนเช่าจัดตั้งเป็นเขตอุตสาหกรรมในราคาถูก เพื่อลดต้นทุนสินค้าและสนับสนุนการส่งออก

การค้าชายแดน : ภายหลังเมียนมาร์เปิดประเทศ และยิ่งใกล้เปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเข้าไปทุกขณะ กำแพงกีดกันการค้า ต่างๆ จะถูกทลายออกไป ส่งให้การค้าชายแดนที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก วันนี้ คึกคักและเปลี่ยน แปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ในฐานะประตูหน้าเชื่อมโยงการค้าของสองประเทศเข้าหากัน นับเป็นโอกาสครั้งสำคัญของธุรกิจไทย ตั้งแต่ระดับบิ๊กและเอสเอ็มอีเข้าไปทำการค้ากับเมียนมาร์ แนวโน้มการส่งออกสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้นทุกปี สินค้าของประเทศไทยยังคงได้รับความนิยมจากเพื่อนบ้านแห่งนี้มาเป็นอันดับหนึ่ง สินค้าอุปโภคบริโภคกว่า 80% ที่ชาวพม่าใช้กันอยู่ในปัจจุบันรับมาจากประเทศไทย โดยประธานหอการค้าฯ ระบุว่า “อะไรก็ขายได้” ยิ่งถ้าแบรนด์ไทยชื่อดังก็จะได้รับความเชื่อถือ บางชนิดผลิตไม่ทันขาย นอกจากนั้น พม่ายังต้องการการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานอีกมหาศาล ไม่ว่าจะถนน อาคาร บ้านเรือนต่างๆ

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ครั้งที่ 2/2557 เมื่อวันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2557 เห็นชอบขอบเขตพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษใน 5 พื้นที่ชายแดนเป้าหมาย รวม 36 ตำบล ใน 10 อำเภอ พื้นที่รวมประมาณ 1.83 ล้านไร่ (2,932 ตร.กม.) โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ในระดับตำบลที่อยู่ติดชายแดนและไม่ทับซ้อนพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดตาก จำนวน 14 ตำบล 886,875ไร่ (1,419 ตร.กม.) ใน อ.แม่สอด อ.พบพระ และ อ.แม่ระมาด และประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในประกาศครั้งที่ 1/2557 ดังนี้

อำเภอแม่สอด

ในพื้นที่ 8 ตำบล คือ ตำบลแม่สอด ตำบลแม่ตาว ตำบลท่าสายลวด ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่กาษา ตำบลแม่ปะ ตำบลแม่กุ ตำบลมหาวัน พื้นที่เป้าหมายรวม 8 ตำบลในอำเภอแม่สอด มีพื้นที่ 529,264 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ 32,234ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 25 ของพื้นที่ทั้งหมด

อำเภอพบพระ

ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลพบพระ ตำบลช่องแคบ ตำบลวาเล่ย์ พื้นที่เป้าหมายรวม 3 ตำบลในอำเภอพบพระ มีพื้นที่ 261,961 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ 22,972 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 9 ของพื้นที่ทั้งหมด

อำเภอแม่ระมาด

ในพื้นที่ 3 ตำบล คือ ตำบลแม่จะเรา ตำบลแม่ระมาด ตำบลขะเนจื้อ พื้นที่เป้าหมายรวม 3 ตำบลในอำเภอแม่ระมาด มีพื้นที่ 244,797 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิ์ 43,548 ไร่ คิดเป็น ร้อยละ 18 ของพื้นที่ทั้งหมด

การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด จังหวัดตากนี้ จะครอบคลุมเนื้อหาในด้าน

  • เขตอุตสาหกรรมชายแดน
  • เขตการขนส่งสินค้าข้ามแดน คลังสินค้า และบริการโลจิสติกส์
  • ตลาดการค้าชายแดน
  • สิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว
  • สถาบันการเงิน

เนื้อหาของเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้มีความครอบคลุมและตรงกันกับเมืองคู่แฝดที่ทำการค้ามายาวนานอย่างเมือง เมียวดี ที่มีเขตเศรษฐกิจพิเศษทางด้านการเป็นศูนย์กระจายสิค้า พื้นที่เกษตรกรรม นิคมอุตสาหกรรม และการพาณิชย์


  • บทบาท ความสัมพันธ์ ไทยกับนาโต้ nato.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความสัมพันธ์ไทย-นาโต้ นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา (ณ ขณะนั้น) ได้มีการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ แล...

  • องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ nato shining consult.png
    NATO คือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือย่อมาจากNorth Atlantic Treaty Organisation เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต การก่อตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือหรือนาโต้ เกิดขึ้นในช่วง...

  • soft power shining consult jiratha aganidat อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Soft Power มีที่มาจากนายโจเซฟ เอส (Joseph S. Nye) ศาสตราจารย์ด้านรัฐศาสตร์ของวิทยาลัยการปกครองเคเนดี้ แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ให้นิยามว่า อำนาจ หม...

  • บทความอาเซียน asean.png
    Cambodia : กัมพูชา Indonesia : อินโดนีเซีย Laos : สปป.ลาว Malaysia : มาเลเซีย Myanmar : เมียนมา หรือ พม่า Negara Brunei Darussalam: เนอการาบรูไน ดารุซซาลาม Philippines : ฟิลิปปินส์...

  • asean ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ความหลากหลายทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของอาเซียน ของกลุ่มประชาคมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บูรไนดารุสซาลา...

  • thailand biennale chiangrai 2023 Jiratha Aganidat shining consult.png
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศไทยเราได้ก่อตั้งมูลนิธิบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ (บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ : Bangkok Art Biennale)นับเป็นอีกหนึ่งประเทศในอาเซียน ที่มีความสามารถ...

  • ไปเที่ยวก่อนไปลงทุน asean วัฒนธรรมอาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และภาพรวมเศรษฐกิจภายในประเทศที่นิ่ง ไม่ค่อยมีความเคลื่อนไหวไปในทางบวกสักเท่าไร ทำให้หลายคนมองถึงการค้ากับคนนอกประเทศม...

  • study business culter asean วัฒนธรรมอาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กระแสประชาคมอาเซียน ทำให้มีหลายคนอยากศึกษาวัฒนธรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ ติดต่อได้คล่อง ไปเที่ยวได้สนุก ปรับตัวเข้ากับผู้คนประเทศเพื่อนบ้านได้ แต่พอได้ล...

  • คำนำหน้าชื่อประเทศ อาเซียน asia asean อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เคยถามหลายคนว่า ประเทศไทย ชื่อจริง ๆ ตามหลักการปกครอง ชื่ออะไร ก็มีหลายคนมองหน้าว่าเป็นการถามกวน ๆ หรือไม่ แต่ก็ตั้งใจถามจริงทุกครั้ง คำตอบที่ได้...

  • เตรียมตัวก่อนไปดูงานต่างประเทศ study tour project อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต มักมีคนกล่าวกันว่า การไปดูงานในต่างประเทศนั้น ก็แค่พากันไปเที่ยว หากเป็นภาครัฐ ก็อาจถูกมองว่า ผู้ที่เดินทางมักมีความต้องประสงค์ที่จะเพิ่มเติมความรู้คว...

  • กำเนิดอาเซียน association of south east asian nations อาจารย์จิรฐา shining consult .jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต AECเป็นการพัฒนามาจากการเป็น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of South East Asian Nations :ASEAN) ก่อตั้งขึ้นตามปฏิญญากรุ...

  • asean charter กฎบัตรอาเซียน  อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต กฎบัตรอาเซียนเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญ ของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียน มีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอ...

  • myanmar ข้อมูลเมียนมา คนพม่า อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ประเทศพม่า หรือ Myanmar มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ Republic of the Union of Myanmar เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใ...

  • myanmar เมียนมา พม่า อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ก่อนที่มาเป็นชื่อประเทศว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา หรือ เมียนมา เดิมคือชื่อ พม่า หรือ Burma มีการเปลี่ยนชื่อประเทศในครั้งนี้ รัฐบาลเมียนมา ต้อง...

  • myanmar-เมียนมา-ประเทศพม่า-คนพม่า-shiningconsult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ภายหลังการประชุมรัฐสภาเมียนมาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2554 เมียนมาได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ปัจจุบันมีรูปแบบการ...

  • laos ประเทศลาว อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว พื้นที่: 236,800 ตร.กม. แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 16 แขวง (จังหวัด) และ 2 เขตการปกครองพิเศษ (นครหลวงเวี...

  • vietnam เวียดนาม อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต พื้นที่ : พื้นที่ประมาณ327,500ตารางกิโลเมตร ความยาวจากเหนือจรดใต้1,650กิโลเมตร ขนานไปตามแนวยาวของคาบสมุทรอินโดจีน นอกจากนี้ยังมีไหล่เขาและหมู่เกา...

  • Kingdom of Cambodia ราชอาณาจักรกัมพูชา อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต ราชอาณาจักรกัมพูชา (Cambodia) พื้นที่ :181,035 ตร.กม. (พื้นดิน 176,525 ตร.กม. พื้นน้ำ 4,520 ตร.กม.) อาณาเขต : ทิศเหนือ ติดประเทศไทย (เขต จ.อุบลร...

  • cambodia สายน้ำ กัมพูชา โตนเลสาป อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต เทศกาลน้ำ ประเพณีสำคัญของชาวกัมพูชา “เมืองแห่งสายน้ำ” ในอาเซียน กัมพูชาถือว่ามีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่า”โตนเลสาบ” อยู่กลางประเทศ หล่อหลอมเล...

  • cambodia phnom penh น่ารู้ ประเทศกัมพูชา อาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. Royal Palace (พระราชวัง) 2. Cambodia National Museum (พิพิธภัณฑ์) 3. Tuol Sleng Genocide Museum (ตวล สเลง-ย้อนรอยคุกที่ไม่มีประตูออก) 4. Choeung Ek...

  • cambodia ประเทศกัมพูชา อาเซียน อาจารย์จิรฐา shining consult copy.jpg
    เขียนโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต 1. มีอัตราการเจริญเติบโตของ GDP อย่างสม่ำเสมอ เฉลี่ย 7.0% 2. อัตราการขยายตัวของชนชั้นกลาง เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อเที่ยบกับใน CLMV 3. ขนาดประเทศเล็...

  • Republic of Armenia church of amberd อาร์เมเนีย อาจารย์จิรฐา shining consult.jpg
    เรียบเรียงโดยอาจารย์จิรฐา อัคนิทัต Celebrating the 28thAnniversary of Independence of Republic of Armenia ฉลองครบรอบ 28 ปี วันชาติของสาธารณรัฐอาร์เมเนีย (22 กันยายน 2562) 22 กันยาย...

  • aec blue print 2025 asean economic community blueprint 2025 shining consult อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต.png
    เรียบเรียงโดย อาจารย์จิรฐา อัคนิทัต โครงสร้างหลักของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2025 ตามที่ระบุใน ASEAN Economic Community Blueprint 2025 นั้น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะประกอบไปด้วย 5 อ...